ประวัติ

๏ ประวัติโรงเรียน

..........“โรงเรียนกู่สันตรัตน์”เดิมได้เรียนร่วมกับ“โรงเรียนบ้านสระบัว” ตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2468 แยกโรงเรียนมาตั้งและเปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่ศาลาวัดบ้านกู่ ในปี พ.ศ.2501 ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดบ้านกู่” มีนักเรียนทั้งสิ้น107 คน ครู 2 คน คือ นายสอ ศิริพรทุม (ครูใหญ่) และนายวิชัย ปุริโสตะโย (ครูผู้สอน)ต่อมาศาลาวัดบ้านกู่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจึงได้ย้ายไปทำการสอนที่ศาลาวัดบ้านหนองทุ่มและจัดหาที่ดินได้จำนวน 15 ไร่ ตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศชั่วคราว และ ย้ายมาเรียนที่อาคารเรียนชั่วคราวหลังใหม่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2504 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “ โรงเรียนบ้านกู่โนนเมือง ”
..........ปีการศึกษา 2524 เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนชุมชนบ้านกู่โนนเมือง ” ตามโครงการโรงเรียนชุมชน
..........ปีการศึกษา 2526 เข้าโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (กศ.พช.)
..........ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดรับนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเข้าโครงการปฏิรูปการศึกษาในปีเดียวกัน
..........ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนได้รับการกำหนดให้เป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปการศึกษาของอำเภอนาดูนและเป็นปีแรกที่เปิดทำการสอนครบทุกชั้นใน 3 ระดับ คือ อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3
..........ปีการศึกษา 2543 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาดูน
..........ปีการศึกษา 2545 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยเริ่มสอนในชั้น ป.1 ,ป.4 และ ม.1
..........ปีการศึกษา 2546 เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนกู่สันตรัตน์ ”
..........ปีการศึกษา 2553 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลกู่สันตรัตน์
..........โรงเรียนกู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่เลขที่ 72 บ้านดงสวรรค์ หมู่ที่ 3 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่ 15 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอนาดูนไปทางทิศตะวันออก ระยะทาง 4.5 กิโลเมตรและห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคาม ไปทางทิศใต้ ระยะทาง 62 กิโลเมตร มีหมู่บ้านในเขตบริการโรงเรียน จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ
..........1.บ้านกู่/บ้านกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........2.บ้านดงสวรรค์ หมู่ที่ 3 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........3.บ้านหนองแคนน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........4.บ้านหนองทุ่ม หมู่ที่ 5 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........5.บ้านหนองเปือยน้อย หมู่ที่ 7 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........6.บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 9 ตำบลกู่สันตรัตน์
..........นอกจากนั้นยังมีนักเรียนจากบ้านสระบัว ตำบลกู่สันตรัตน์ บ้านโพธิ์ทอง บ้านดงน้อย ตำบลพระธาตุ ซึ่งเป็นหมู่บ้านนอกเขตบริการโรงเรียน
..........โรงเรียนกู่สันตรัตน์ เป็นโรงเรียน 1 ในจำนวน 31 โรงเรียนของอำเภอนาดูนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
..........ปีการศึกษา 2555 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 11 ห้องเรียน นักเรียน 184 คน
ครู 14 คน พนักงานราชการ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรง 2 คน

๏ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.นายวรวิทย์ ปักกาโล (นายก อบต.กู่สันตรัตน์) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ
2.พระครูโกวิทจันทคุณ (รองเจ้าคณะอำเภอนาดูน) ตัวแทนศาสนา รองประธานกรรมการ
3.นายสมบัติ พิมยัง (ผู้ใหญ่บ้านกู่) ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน กรรมการ
4.นายจำรัส เพิ่งจันดา (ผู้ใหญ่บ้านดงสวรรค์) ตัวแทนศิษย์เก่า กรรมการ
5.นายทวีชัย ปักกาเวสา (กำนันตำบลกู่สันตรัตน์) ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
6.นายสิทธิศักดิ์ ปะนาตา (ผู้ใหญ่บ้านหนองแคนน้อย) ตัวแทนองค์กรปกครองชุมชน กรรมการ
7.นายสีลา มิทะลา (ส.อบต.กู่สันตรัตน์) ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
8.นายเดลิก ถุงออด ตัวแทนครู กรรมการ
9.นายสุวรรณ บุตรวิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการและเลขานุการ

๏ ผู้บริหารโรงเรียน อดีต - ปัจจุบัน

1.นายสอ ศิริพรทุม ครูใหญ่ 2501-2508
2.นายทองด้วง แก้วภา รก.ครูใหญ่ 2508-2510
3.นายสมาน บัวบุญ ครูใหญ่ 2510-2522
4.นายสุริยนต์ คำละกาย ครูใหญ่ 2522-2524
5.นายประจวบ แก้วธานี รก.ครูใหญ่ 2524-2525
6.นายสุริยนต์ คำละกาย ครูใหญ่ 2525-2527
7.นายสุภาพ ศรีจันทร์ ครูใหญ่ 2527-2530
8.นายสุภาพ ศรีจันทร์ อาจารย์ใหญ่ 2530-2535
9.นายทรงศักดิ์ ประทุมขำ อาจารย์ใหญ่ 2535-2543
10.นายทรงศักดิ์ ประทุมขำ ผู้อำนวยการโรงเรียน 2543-2555
11.นายสุวรรณ บุตรวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียน 2555 - ปัจจุบัน

๏ ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน

1.นายดาวเรือง พรสีมา ผู้ช่วยครูใหญ่ 2527-2530
2.นายดาวเรือง พรสีมา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ 2530-2543
3.นายดาวเรือง พรสีมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน 2543-2544

๏ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.นายสุวรรณ บุตรวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ
2.น.ส.มณีรัตน์ กางสำโรง ค.บ.(ภาษาไทย) ครู ชำนาญการพิเศษ
3.นางพิสมัย ขันแก้ว กศ.ม.(การประถมศึกษา) ครู ชำนาญการพิเศษ
4.นางปรีดาวรรณ ถั่วอรัญ ปท.ส.(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ครู
5.นางอัครา ประภาวิชา ค.บ.(การประถมศึกษา) ครู ชำนาญการพิเศษ
6.นายจำเริญ หลวงอินทร์ กศ.ม.(การศึกษานอกระบบ) ครู ชำนาญการพิเศษ
7.นางประภัสสรา หาญคำภา ศศ.บ.(ภาษาไทย) ครู ชำนาญการ
8.นายเดลิก ถุงออด ค.บ.(วิทยาศาสตร์ทั่วไป) ครู ชำนาญการพิเศษ
9.นางธนัชพร เวียงโพนละออม กศ.บ.(ชีววิทยา) ครู ชำนาญการพิเศษ
10.นางเกศณี วรกำพล กศ.บ.(การประถุมศึกษา) ครู
11.นางวรินทร ป้อมจาหยับ วท.บ.(เทคโนโลยีชีวภาพ) ครู
12.นางสาวภัทรภิญญา ปักการะนา ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) ครู
13.นางไพรวัลย์ อุทัยแพน ค.บ.(การประถมศึกษา) ครู ชำนาญการพิเศษ
14.นายน้อย คำลือ ค.บ. (การบริหารการศึกษา) ครู ชำนาญการพิเศษ
15.นายวันชัย อุทธารนิช ค.บ.(ปฐมวัย) ครู ชำนาญการพิเศษ
16.นางสาวโพยมธารณ์ ปาสาบุตร ค.บ.(ภาษาอังกฤษ) พนักงานราชการ
17.นายเฉลิม ปะนามะเตา ลูกจ้างชั่วคราว (นักการภารโรง)
18.นายวิทพนธ์ ปินะกาโน ลูกจ้างชั่วคราว (นักการภารโรง)

๏ บัญชีจัดชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555

อบ1 ชาย 07 คน หญิง 10 คน รวม 17 คน นายวันชัย อุทธารนิช
อบ2 ชาย 07 คน หญิง 09 คน รวม 16 คน นางธนัชพร เวียงโพนละออม
ป.1. ชาย 09 คน หญิง 08 คน รวม 17 คน นางเกศินี วรกำพล
ป.2. ชาย 11 คน หญิง 09 คน รวม 20 คน นางไพรวัลย์ อุทัยแพน
ป.3. ชาย 11 คน หญิง 07 คน รวม 18 คน นางอัครา ประภาวิชา
ป.4. ชาย 13 คน หญิง 06 คน รวม 19 คน นางประภัสสรา หาญคำภา
ป.5. ชาย 08 คน หญิง 03 คน รวม 11 คน น.ส.โพยมธารณ์ ปาสาบุตร
ป.6. ชาย 09 คน หญิง 13 คน รวม 22 คน นางพิสมัย ขันแก้ว
ม.1. ชาย 07 คน หญิง 12 คน รวม 19 คน นางปรีดาวรรณ ถั่วอรัญ
ม.2. ชาย 05 คน หญิง 03 คน รวม 08 คน นางวรินทร ป้อมจาหยับ
ม.3. ชาย 07 คน หญิง 10 คน รวม 17 คน นางสาวภัทรภิญญา ปักการะนา
.................................................................นายจำเริญ หลวงอินทร์
.................................................................นายเดลิก ถุงออด
.................................................................นายน้อย คำลือ
.................................................................น.ส.มณีรัตน์ กางสำโรง
รวม ชาย 94 คน หญิง 90 คน รวม 184 คน


๏ อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งปลูกสร้าง

1.อาคารเรียน 1 แบบ ป.1ฉ.(เตี้ย) 3 ห้องเรียน สร้าง พ.ศ.2514 ใช้เป็นห้องเรียนชั้นอนุบาล 1 - 2 และห้องพยาบาล
2.อาคารเรียน 2 แบบ ป.1ฉ.(สูง) 3 ห้อง ต่อเติมชั้นล่าง 3 ห้อง สร้าง พ.ศ.2518 ใช้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องเรียนกลุ่มการงานอาชีพ และห้องพัสดุ
3.อาคารเรียน 3 แบบ ป.1ฉ.(สูง) 8 ห้อง สร้าง พ.ศ.2519 ใช้เป็นห้องเรียนชั้น ป.1-6 ห้องพักครูและห้องสภานักเรียน
4.อาคารเรียน 4 แบบ สปช.105/29 จำนวน 8 ห้อง สร้าง พ.ศ.2541 ใช้เป็นห้องเรียนชั้น ม.1-3 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1-2 ห้องผู้อำนวยการ ห้องธุรการ ห้องสมุด ห้อง HAPPY CLASS
5.โรงฝึกงาน แบบ 312 สร้าง พ.ศ.2522 ใช้เป็นห้องฝึกงาน ห้องประชุมและจัดกิจกรรมนักเรียน
6.บ้านพักครู 1 แบบกรมสามัญ สร้าง พ.ศ.2515 ชำรุดใช้การไม่ได้
7.บ้านพักครู 2 แบบกรมสามัญ สร้าง พ.ศ.2518 มีครูพักอาศัย
8.ส้วม 1 แบบอื่น ๆ จำนวน 5 ที่ สร้าง พ.ศ.2520 ชำรุดใช้การไม่ได้
9.ส้วม 2 แบบ สปช.601/26 จำนวน 2 ที่ สร้าง พ.ศ.2529
10.ส้วม 3 แบบ สปช.601/26 จำนวน 2 ที่ สร้าง พ.ศ.2541
11.ส้วม 4 แบบ สปช.601/26 จำนวน 2 ที่ สร้าง พ.ศ.2545
12.เรือนเพาะชำ แบบอื่น ๆ สร้าง พ.ศ.2545
13.อาคารโรงจอดรถ แบบอื่น ๆ จำนวน 8 ช่อง สร้าง พ.ศ.2546
14.อาคารโรงครัว แบบอื่น ๆ จำนวน 1 หลัง สร้าง พ.ศ.2546
15.อาคารร้านค้า แบบอื่น ๆ จำนวน 2 ห้อง สร้าง พ.ศ.2549
16.เสาธงชาติ สร้าง พ.ศ.2530
17.พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา สร้าง พ.ศ.2539
18.พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 สร้าง พ.ศ.2539
19.กู่สันตรัตน์จำลอง สร้าง พ.ศ.2542
20.ถังประปาบาดาล 2 ถัง สร้าง พ.ศ.2538 / 2548
21.สนามฟุตบอล 1 สนาม สร้าง พ.ศ.2501
22.สนามบาสเกตบอล 2 สนาม สร้าง พ.ศ.2542 / 2543
23.สนามวอลเลย์บอล 1 สนาม สร้าง พ.ศ.2517
24.สนามตะกร้อ 1 สนาม สร้าง พ.ศ.2545
25.สนามเปตอง 2 สนาม สร้าง พ.ศ.2547 / 2549
26.สนามเด็กเล่น 1 สนาม สร้าง พ.ศ.2542
27.บ่อเลี้ยงปลา(บ่อดิน) 1 บ่อ สร้าง พ.ศ.2530
28.บ่อเลี้ยงปลา(บ่อซีเมนต์) 2 บ่อ สร้าง พ.ศ.2548
29.ป้ายและรั้วคอนกรีตโรงเรียน สร้าง พ.ศ.2546
30.แปลงผักอิฐบล๊อก 20 แปลง สร้าง พ.ศ.2548
31.สวนหย่อม สร้าง พ.ศ.2541
32.ถนน คสล.ขนาด 4.00 x 137 x 0.15 เมตร สร้าง พ.ศ.2549
33.ถนน คสล.ขนาด 4.00 x 50 x 0.15 เมตร สร้าง พ.ศ.2550
34.ส้วม แบบ สปช.601/45 จำนวน 4 ที่ สร้าง พ.ศ.2551

๏ ความภูมิใจ

..........1.โรงเรียนกู่สันตรัตน์ (โรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง สพท.มค.2 ปีการศึกษา 2547)
..........2.นางพิสมัย ขันแก้ว (ครูผู้สอนการงานอาชีพดีเด่น สพท.มค.2 ปีการศึกษา 2547)
..........3.นางพิสมัย ขันแก้ว (ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น (ดี) สพท.มค.2 ปีการศึกษา 2549)
..........4.ปีการศึกษา 2553 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลกู่สันตรัตน์

๏ ครูดีเด่น

จากการคัดเลือกครูและบุคลากรดีเด่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีการศึกษา2551 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกู่สันตรัตน์ได้รับการคัดเลือก ดังนี้
1.นางไพรวัลย์ อุทัยแพน ครูดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1
2.นางสาวมณีรัตน์ กางสำโรง ครูดีเด่นสาขาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1
3.นางวิลาวัลย์ อาขวงษา ครูดีเด่นสาขากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่ 1
4.นายศรชัย แก้วสุวรรณ ครูดีเด่นสาขาศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ช่วงชั้นที่ 2
5.นางพิสมัย ขันแก้ว ครูดีเด่นสาขาคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2
6.นางสาวภัทรภิญญา ปักการะนา ครูดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
7.นายจำเริญ หลวงอินทร์ ครูดีเด่นสาขาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 3
8.นางวรินทร ป้อมจาหยับ ครูดีเด่นสาขาภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 3
ปีการศึกษา2553 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกู่สันตรัตน์ได้รับการคัดเลือก ดังนี้
1.นางสาวภัทรภิญญา ปักการะนา ได้รับคัดเลือกเป็น Master Teacher สาขาวิชาแนะแนว
ปีกาศึกษา 2554 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกู่สันตรัตน์ได้รับการคัดเลือก ดังนี้
1.นายจำเริญ หลวงอินทร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครุสอนดี อันดับ 1 ของตำบลกู่สันตรัตน์


๏ รางวัลการสอบ นักเรียนชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2551

จากผลการทดสอบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2552 โรงเรียน ผู้บริหาร และครูโรงเรียนกู่สันตรัตน์ ได้รับประกาศเกียรติบัตร ดังนี้
1.รางวัลโรงเรียนและผู้บริหารที่สนับสนุนนักเรียนเข้าสอบครบ 100 %
2.รางวัลโรงเรียนและผู้บริหารที่นักเรียนได้รับรางวัลมีค่า S.D. ต่ำสุด 10 อันดับแรกวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และรวมทุกรายวิชา
3.นายเดลิก ถุงออด ได้รับรางวัลครูผูสอนที่นักเรียนได้รับรางวัลมีค่า S.D.ต่ำสุด 10 อันดับแรกวิชาวิทยาศาสตร์
4.นางวรินทร ป้อมจาหยับ ได้รับรางวัลครูผูสอนที่นักเรียนได้รับรางวัลมีค่า S.D. ต่ำสุด 10 อันดับแรกวิชาภาษาอังกฤษ

ปีการศึกา 2554 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองและได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนกลุ่มพัฒนาความเป้นเลิศทางวิชาการ กลุ่มที่ 13 เข้าแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 61 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
1.การอ่านจับใจความ ป.1-3
2.การท่องบทอาขยานทำนองเสนาะ ป.1-3
3.หนังสือเล่มเล็ก ป.4-6
4.ละครคุณธรรม ป.4-6

๏ ตำบลกู่สันตรัตน์

ประวัติความเป็นมา

..........ตำบลกู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่บ้านกู่ หมู่ที่ ๒ โดยบ้านกู่ เรียกขานตาม กู่ ซึ่งเป็นโบราณสถานตั้งอยู่แล้วก่อนตั้งบ้าน ชาวบ้านกู่ได้อพยพมาจากบ้านโนนสูง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านในปัจจุบันห่างไปประมาณ ๑ กิโลเมตร สาเหตุการย้ายเพราะชาวบ้านโนนสูง เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง ผู้คนและสัตว์เลี้ยงล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า โรคขี้เหลว ผู้นำการอพยพพามาจัดตั้งหมู่บ้าน คือผู้ใหญ่พันนา ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า กวนบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน สาเหตุที่เลือกเอาบริเวณนี้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านเพราะมี กู่ ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ชาวบ้านจึงยึดเป็นที่พึ่งทางใจ มีความเชื่อว่าโรคภัยไม่สามารถเข้ามาทำร้ายได้

..........สภาพภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านติดชายป่า ซึ่งเรียกว่าป่าดงกู่ เป็นป่าขนาดใหญ่อยู่ทางทิศใต้และทางทิศตะวันตก มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด บ้านกู่เคยขึ้นอยู่ในเขตปกครองของตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม ตำบลหนองไผ่ อำเภอนาดูน

..........เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ชาวบ้านกู่และใกล้เคียงได้ขอแยกเป็นตำบลเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกในการติดต่องานกับทางราชการ และราชการได้เห็นความจำเป็นจึงได้แยกหมู่บ้านออกจากตำบลนาดูน คือบ้านกู่ บ้านหนองทุ่ม บ้านหนองแคน บ้านดงสวรรค์ ตำบลหนองไผ่ คือบ้านยางอิไล บ้านดอนก่อ บ้านหนองจิก บ้านโพธิ์ทอง ได้รวมเป็นตำบลกู่สันตรัตน์ และปัจจุบัน บ้านกู่ ได้ขึ้นกับตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จนถึงปัจจุบัน

..........การตั้งชื่อตำบลกู่สันตรัตน์ ตั้งชื่อตามกู่ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญของตำบล โดยสันตรัตน์ ได้ตั้งชื่อตามผู้รายงานการค้นพบ กู่ คือ นายสันต์ แก้วก่า ซึ่งเป็นศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุมในสมัยนั้น

ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต

..........ตำบลกู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ทิศใต้ของจังหวัดมหาสารคาม ห่างจากจังหวัดมหาสารคามประมาณ ๖๑ กิโลเมตร อยู่ทิศตะวันออกของอำเภอนาดูนห่างจากอำเภอนาดูน ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
..........ทิศเหนือ ติดกับตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
..........ทิศใต้ ติดกับตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
..........ทิศตะวันออก ติดกับตำบลดอกล้ำ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
..........ทิศตะวันตก ติดกับตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

การปกครอง

..........ตำบลกู่สันตรัตน์ มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน ๙ หมู่บ้าน คือ
..........หมู่ที่ ๑ บ้านยางอิไล นายบุญทัน มาตรแท่น ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๒ บ้านกู่ นายสมบัติ พิมยัง ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๓ บ้านดงสวรรค์ นายจำรัส เพิ่งจันดา ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๔ บ้านหนองแคนน้อย นายสิทธิ์ศักดิ์ ปะนาตา ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๕ บ้านหนองทุ่ม นายณัฐวุฒิ ปัจจัยโค ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๖ บ้านสระบัว นายสุรพงษ์ นามะ ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๗ บ้านหนองเปือยน้อย นายทวีชัย ปักกาเวสา ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน
..........หมู่ที่ ๘ บ้านดอนก่อ นายสมบัติ ทองพูล ผู้ใหญ่บ้าน
..........หมู่ที่ ๙ บ้านโนนเมือง นายประยุน วันทา ผู้ใหญ่บ้าน

สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

..........โดยสภาพทั่วไปสามารถแยกลักษณะอากาศออกเป็น ๓ ฤดู
- ฤดูร้อน จะเริ่มช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม อากาศจะร้อนมากในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน จะเริ่มช่วงเดือน มิถุนายน – ตุลาคม ฝนจะตกมากในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
- ฤดูหนาว จะเริ่มช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวมากในเดือนธันวาคม

สภาพเศรษฐกิจ

..........ประชาชนตำบลกู่สันตรัตน์ ส่วนมากประกอบอาชีพทำนา รับจ้างในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว นาที่ทำส่วนใหญ่เป็นนาข้าวเหนียว และข้าวเจ้าทำไว้เพื่อการจำหน่าย และมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ หมู เป็นอาชีพเสริมในการทำนา

จำนวนประชากร

..........ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ประชากรชาย ๑,๘๕๐ คน หญิง ๑,๙๔๒ คน รวม ๓,๗๙๒ คน
..........ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ประชากรชาย ๑,๓๐๙ คน หญิง ๑,๓๙๕ คน รวม ๒,๗๐๔ คน
..........ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ประชากรชาย ๑,๓๔๖ คน หญิง ๑,๔๗๗ คน รวม ๒,๘๒๓ คน

การศึกษา

..........ตำบลกู่สันตรัตน์มีหน่วยงานทางการศึกษา ๔ แห่ง คือ
๑.โรงเรียนกู่สันตรัตน์ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ – ม.๓ นายสุวรรณ บุตรวิเศษ ผอ.รร.
๒.โรงเรียนบ้านยางอิไลดอนก่อ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ - ป.๖ นายคำสี สัตตรัตนำพร ผอ.รร.
๓.โรงเรียนบ้านสระบัว เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ – ป.๖ นายธัช ปัตตาเนย์ ผอ.รร.
๔.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลกู่สันตรัตน์ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ๓-๕ ขวบ นายวรวิทย์ ปักกาโล ผู้บริหาร


ศาสนา

..........ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ มีวัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาจิตใจพร้อมยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางด้านศิลปะวัฒนธรรม จำนวน 8 วัด มีพระครูโกวิทจันทคุณ วัดหนองทุ่ม เป็นรองเจ้าคณะอำเภอนาดูน

ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชุมชน คือ ภาษาอีสาน และใช้ภาษากลางเพื่อการติดต่องานราชการ

ความเชื่อและจารีต ยังคงมีแนวปฏิบัติสืบต่อกันมาตาม “ฮีต ๑๒ คอง ๑๔” ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ในรอบหนึ่งปี ตำบลกู่สันตรัตน์ ได้มีการทำบุญตาม “ฮีต ๑๒ คอง ๑๔” มาโดยตลอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เด่นของตำบลกู่สันตรัตน์ คือ ประเพณีสงกรานต์ โดยจัดประเพณีสรงกู่ ในวันขึ้น 14 - 15 คำ เดือนห้า มีพิธีบวงสรวงกู่สันตรัตน์ ประเพณีสรงกู่ แห่กับแก้กับโกนเพื่อขอฝน จุดบั้งไฟขอฝน เป็นต้น

การสาธารณสุข

..........ตำบลกู่สันตรัตน์มีหน่วยงานด้านสาธารณสุข ๑ แห่ง ชื่อว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่โนนเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ ๔ คน คือ
..........๑.นางวราภรณ์ กรโสภา ผู้อำนวยการ
..........๒.นางสาวอรวรรณ พันธ์โสภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
..........๓.นางสะอาด ปัจจัยโค พนักงานผู้ช่วยเจ้าหน้าที่
..........๔.นางสาวเสาวลักษณ์ ปะนาตา พนักงานบันทึกข้อมูล

๏ ประวัติหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลกู่สันตรัตน์

๏ บ้านยางอิไล หมู่ที่ ๑

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านยางอิไล เกิดขึ้นจากพ่อใหญ่วงษ์ ศรีวงษ์ยาง ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อพยพมาหาที่ทำกินแห่งใหม่และพบทำเลที่เหมาะสม คือ มีหนองน้ำอุดมสมบูรณ์
เต็มไปด้วยปู ปลา และป่าไม้ มีสัตว์ประเภทต่าง ๆ มีต้นไม้ โดยเฉพาะต้นยางจำนวนมาก
..........บ้านยางอิไล ตั้งชื่อตามต้นยาง ซึ่งเป็นไม้ขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก
..........ผู้นำหมู่บ้านมีทำเนียบการปกครอง ดังนี้
๑.นายถาวร สมภักดี
๒.นายสมชาย ราชรินทร์
๓.นายใจแก้ว หาวงษ์
๔.นายบุบผา ปัตตาวะตัง
๕.นางคำนาง คำจันทร์
๖. นายอุไล ศรีวงษ์ยาง
๗.นายบุญทัน มาตรแท่น

๏ บ้านกู่ หมู่ที่ ๒

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านกู่ เรียกขานตาม กู่ ซึ่งเป็นโบราณสถานตั้งอยู่แล้วก่อนตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านกู่ได้อพยพมาจากบ้านโนนสูง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านในปัจจุบันห่างไปประมาณ ๑ กิโลเมตร สาเหตุการย้ายเพราะชาวบ้านโนนสูง เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง ผู้คนและสัตว์เลี้ยงล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งตอนนั้นเรียกว่าโรคขี้เหลว ผู้นำการอพยพพามาจัดตั้งหมู่บ้าน คือผู้ใหญ่พันนา ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า กวนบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน สาเหตุที่เลือกเอาบริเวณนี้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านเพราะมี กู่ ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ชาวบ้านจึงยึดเป็นที่พึ่งทางใจ มีความเชื่อว่าโรคภัยไม่สามารถเข้ามาทำร้ายได้
..........สภาพภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านติดชายป่า ซึ่งเรียกว่าป่าดงกู่ เป็นป่าขนาดใหญ่อยู่ทางทิศใต้และทางทิศตะวันตก มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด บ้านกู่เคยขึ้นอยู่ในเขตปกครองของตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม ตำบลหนองไผ่ อำเภอนาดูน และปัจจุบัน บ้านกู่ ได้ขึ้นกับตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน
..........ผู้นำหมู่บ้านมีทำเนียบการปกครอง ดังนี้
๑.พ่อผู้ใหญ่นวล ปะนาโท
๒.พ่อผู้ใหญ่จารย์ซาเผิ่ง ชัยอินทร์
๓.พ่อผู้ใหญ่วัน ปะนาโท
๔.พ่อผู้ใหญ่ลี ปักกาเวสูง ดำรงตำแหน่งสองสมัย
๕.พ่อผู้ใหญ่อ้น ปะนาตา ดำรงตำแหน่งสองสมัย
๖.พ่อผู้ใหญ่กอง ปะวะเค
๗.พ่อผู้ใหญ่ ถาน ปะนาโก ๒๕๐๓ - ๒๕๒๙
๘.นายถิน ปะนาตา ๒๕๒๙ - ๒๕๕๒
๙.นายสมบัติ พิมยัง ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน

๏ บ้านดงสวรรค์ หมู่ที่ ๓

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านดงสวรรค์ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยอพยพมาจากบ้านกู่โนนเมือง สาเหตุที่ย้ายมาเพราะกลุ่มคนเหล่านั้นมีที่นาอยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งบ้านดงสวรรค์ทำให้การเดินทางมาทำนามีความสะดวกยิ่งขึ้น เดิมยังถือว่าบ้านดงสวรรค์เป็นคุ้ม ๆ หนึ่งของบ้านกู่จนถึงปี พศ.๒๕๑๘ จำนวนประชากรของหมู่บ้านมีมากขึ้น ชาวบ้านจึงได้ขอแยกหมู่บ้านมีผู้นำดูแลกันเอง
..........ทำเนียบผู้นำหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)ของบ้านดงสวรรค์ มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้
๑.นายบาง เพิ่งจันดา พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๒
๒.นายทองพูล ศรีวงยาง พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๓๓
๓.นายสุริยา ภูมิภักดิ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
๔.นายหวัน ดงพงษ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๕๔
๕.นายจำรัส เพิ่งจันดา พ.ศ.๒๕๕๔ - ปัจจุบัน

๏ บ้านหนองแคนน้อย หมู่ที่ ๔

ประวัติความเป็นมา -

๏ บ้านหนองทุ่ม หมู่ที่ ๕

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านหนองทุ่มตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมาต้นปี พ.ศ.๒๔๘๔ แต่ก่อนสถานที่ตั้งหมู่บ้านเป็นป่าดง ขณะนั้นนายสอน ปะนามะตัง เป็นผู้นำหมู่บ้าน เห็นว่าหมู่บ้านเดิมมีที่ดินจำกัด จึงได้ชักชวนชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่คนหนุ่มในหมู่บ้านเดิม ออกมาแผ้วถางป่าจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 1 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย พร้อมมีการวางแผนผังหมู่บ้าน โดยการตัดถนนให้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาอย่างสะดวก ผู้นำหมู่บ้านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านในระยะแรก ๆ ได้แก่ นายทน สารเนตร นายดง ปะมามะโส นายเม้ม ศรีหาบุญนาค นายที สารเนตร นายสอ ศิริพรหม นายชารี ปะริยันเต นายทองจันทร์ ปักกัดตัง
..........บ้านหนองทุ่ม ได้ตั้งชื่อว่า หนอง ตามหนองน้ำที่อยู่ทิศเหนือหมู่บ้าน ส่วนคำว่า ทุ่ม เรียกตามชื่อต้นกระทุ่มหรือทุ่ม ซึ่งเป็นไม้ชนิดยืนต้นที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากบริเวณริมหนอง ชาวบ้านจึงเรียกชื่อรวมกันว่า บ้านหนองทุ่ม
..........ทำเนียบผู้นำหมู่บ้านหนองทุ่ม มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้
๑.นายสอน ปะนามะตัง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๗
๒.นายทองจันทร์ ปักกัดตัง พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๔๙๓
๓.นายทองจันทร์ ปักกัดตัง เป็นกำนันตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๑๘
๔.นายชาย ปะนะภูเต พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๙
๕.นายบุญลือ ปะนามะโส ๑๘ กันยายน ๒๕๒๙ - ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
๖.นายเยี่ยม นามวิเศษ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ - ๒๕๔๖
๗.นายวิเศษ มะธิโกวา ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ - ๒๕๕๒
๘.นายณัฐวุฒิ ปัจจัยโค ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน

๏ บ้านสระบัว

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านสระบัว ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทราบว่า กลุ่มคนที่มาตั้งบ้านสระบัวมาจากคนสองกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแรกมาจากบ้านโพธิ์ อำเภอวาปีปทุม โดยการนำของพ่อใหญ่ชิน แม่ใหญ่นาง กลุ่มที่สองมาจากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการนำของพ่อใหญ่แก้ว พ่อใหญ่สีบา แม่ใหญ่ทา
..........จากการอพยพหาทำเลที่ตั้งแหล่งทำมาหากิน คนทั้งสองกลุ่มต่างมาพบทำเลที่เหมาะสม คือ มีเนินที่ตั้งบ้าน มีป่า และมีหนองน้ำ โดยสภาพของป่าและหนองน้ำต่างก็มีความอุดมสมบูรณ์สามารถเลี้ยงชีพได้จึงได้รวมกันตั้งเป็นชุมชนขึ้น
..........บ้านสระบัว เรียกชื่อตามสภาพของหนองน้ำที่มีบัวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยคำว่าสระมาจากหนองน้ำที่มีลักษณะกลม หรือเป็นสี่เหลี่ยม ซึ่งอีสานมักเรียกว่า สระหรือสา ส่วนคำว่าบัว เรียกตามพืชผักน้ำประเภทบัว ซึ่งกินได้ทั้งสายและดอก จึงเรียกชื่อบ้านรวมกันว่าบ้านสระบัว
..........บ้านสระบัว มีทำเนียบผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครอง ดังนี้
๑.ผู้ใหญ่ขุนพันนา ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๔๒
๒.พ่อใหญ่ขุนสมเด็จ ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๕๑
๓.ผู้ใหญ่ขุนวิเศษ ปกครองปี พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๔๕๕
๔.ผู้ใหญ่หารชนะ ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๖๖
๕.ผู้ใหญ่แก้วมณีจันทร์ ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๖๘
๖.ผู้ใหญ่พระนคร ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๖
๗.ผู้ใหญ่ตาแสง ปกครองปี พ.ศ.๒๔๗๗ - ๒๔๘๑
๘.ผู้ใหญ่สีวงษา ปกครองปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๖
๙.ผู้ใหญ่เพ็ง ปกครองปี พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๔
๑๐.ผู้ใหญ่วันดี ปกครองปี พ.ศ.๒๕๐๕ - ๒๕๐๗
๑๑.ผู้ใหญ่ดำ ปกครองปี พ.ศ. ๒๕๐๘
๑๒.ผู้ใหญ่ปาโสราน ปกครองปี ๒๕๑๓ - ๒๕๓๓
๑๓.ผู้ใหญ่สุภาพ บุตรวิเศษ ปกครองปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๕๓
๑๔.ผู้ใหญ่สุรพงษ์ นามะ ปกครอง ปี ๒๕๕๓ - ปัจจุบัน

๏ บ้านหนองเปือยน้อย หมู่ที่ ๗

ประวัติความเป็นมา
..........เดิมบ้านหนองเปือยน้อย ถือเป็นคุ้มหนึ่งที่อยู่ร่วมกันกับบ้านหนองทุ่ม จนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายบุญลือ ปะนามะโส ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหนองทุ่ม ได้ไปร่วมประชุมประจำเดือน และมีข้อราชการแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบว่า หมู่บ้านใดที่มีจำนวนประชากรมาก และหากมีความประสงค์จะขอแยกหมู่บ้านให้ส่งเรื่องขอแยกกับทางอำเภอได้ และเมื่อในคราวประชุมประจำเดือนของบ้านหนองทุ่ม นายบุญลือ ปะนามะโส ก็ได้แจ้งให้ประชุมที่ทราบและที่ประชุมได้พิจารณา มีมติให้แยกหมู่บ้าน
..........ที่ประชุมได้พิจารณาถึงชื่อบ้าน ควรตั้งชื่อว่าอย่างไรดีจึงมีความเหมาะสม นายอำพันธ์ สงแซม ได้เสนอชื่อต่อที่ประชุมว่า บ้านหนองเปือยน้อย เป็นนามบ้านเพราะ ได้ตั้งตามสภาพธรรมชาติของคุ้มที่มีหนองน้ำสาธารณะอยู่ ควรตั้งชื่อต้นว่า หนอง ส่วนคำว่าเปือยน้อย ตั้งตามชื่อต้นเปลือย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นบริเวณบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อได้ชื่อเรียกคำขึ้นต้นและปลายแล้ว จึงเรียกรวมกันว่าบ้านหนองเปือยน้อย ที่ประชุมได้เห็นพร้อมและให้เรียกชื่อนี้ทั้งชื่อสามัญและทางการ
..........ปัจจุบัน บ้านหนองเปือยน้อย มีจำนวนครัวเรือนมี ๘๐ ครอบครัว ประชากรรวม ๓๘๓ คน มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๒๖๒ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สวน ๑๒๒ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๑,๐๗๖ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อาศัย ๖๔ ไร่
ผู้นำของบ้านหนองเปือยน้อย
1.นายปิ่น ปะกะตัง พ.ศ.2533 - 2551
2.นายทวีชัย ปักกาเวสา พ.ศ.2551 - ปัจจุบัน

๏ บ้านดอนก่อ หมู่ที่ ๘

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านดอนก่อ เกิดขึ้นจากการอพยพจากคนบ้านยางอิไล คือ นายที ทุมทุมา และนายโท ปะนาโท ชาวบ้านกู่ ซึ่งมีที่นาอยู่ห่างไกลหมู่บ้านทำให้พอถึงเวลาทำนามีความลำบากในการเดินทาง เพื่อความสะดวกสบายจึงได้ชักชวนกันมาสร้างบ้านอาศัยอยู่ใกล้ที่นาของตน ประกอบกับใกล้ที่นาของสองคนยังมีป่าที่เป็นโคกดอนที่ให้ชาวบ้านยางอิไลและบ้านกู่สามารถทำถากถางทำไร่ฝ้ายเสริมเพิ่มเป็นรายได้อีก และจากการที่เห็นสองครอบครัวมีความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยอยู่ดอนนี้ จึงได้ชักชวนกันมาถางป่าเพื่อปลูกบ้านอาศัยเพิ่มขึ้น เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ นายสน ลาเต ได้มาตั้งสร้างบ้าน และอยู่ต่อมาหลายปีก็มีคนทยอยออกมาจากหมู่บ้านยางอิไลและบ้านกู่เพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามบ้านดอนก่อในระยะแรกเริ่มยังอยู่ในการดุแลของบ้านยางอิไลอยู่
..........จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๕ ชาวบ้านเห็นว่าบ้านมีจำนวนหลังคาเรือนเพิ่มขึ้นพอจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงขอแยกออกจากบ้านยางอิไลและได้ตั้งเป็นบ้านดอนก่อตามชื่อโคกเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่าดอนก่อ
..........ผู้นำบ้านดอนก่อมีทำเนียบการปกครอง ดังนี้
๑.นายใจ สีหาโบราณ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๓
๒.นายสุรินทร์ เกตลาด พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๔๓
๓.นายสมบัติ ทองพูล พ.ศ. ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน

๏ บ้านโนนเมือง หมู่ที่ ๙

ประวัติความเป็นมา
..........บ้านโนนเมืองย้ายออกจากบ้านโนนสูง (เขตคูเมืองเก่าปัจจุบัน) สาเหตุที่ย้ายมาเพราะเกิดโรคระบาด ท้องร่วง มีหมู่บ้านที่ย้ายจากบ้านโนนสูงคือ บ้านกู่ บ้านสระบัว บ้านยางอิไล บ้านหนองทุ่ม ผู้ที่พาลูกหลานย้ายมาจากบ้านโนนสูงชื่อพ่อใหญ่จ่า ไม่ทราบนามสกุล ทางหลักฐาน ตามประวัติที่บอกเล่ากันมาย้ายมาจากบ้านโนนสูงมาประมาณราว ๑๘๐ ปี
..........บ้านโนนเมือง ได้ประกาศขอแยกหมู่บ้านจากบ้านกู่และตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๙
..........ทำเนียบผู้นำหมู่บ้านโนนเมือง มีดังนี้
๑.นายนน เลิศล้ำ ปี ๒๕๓๙ - ๒๕๕๑
๒.นายประยุน วันทา ปี ๒๕๕๑-ปัจจุบัน

๏ องค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์

..........สำนักงานตั้งอยู่บ้านดงสวรรค์ หมู่ที่ 3 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ถนนสายปากทางนาดูน-อำเภอนาดูน ห่างจากตัวอำเภอนาดูน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์

..........ข้าราชการส่วนท้องถิ่น/เจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย

1.นางวิลาสิณี นาเมือง : ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
2.นางบำเพ็ญ บุตรวิเศษ : หัวหน้าส่วนการคลัง
3.นายกมล ถาวรจันทร์ : หัวหน้าส่วนโยธา
4.นายปฐมพงษ์ ไชยพิมพ์ : นักวิชาการศึกษา
5.นางสาวกานดา แสนบุดดา : ผช.นักวิชาการศึกษา
6. นายรัฐศาสตร์ มะธิโกวา : นักวิชาการเกษตร
7. นางสาวรัชฎาภรณ์ ป้องชารี : จพง.การเงินและบัญชี
8. นายจรัญ วิถาทานัง : จพง.ธุรการ
9.นายสมพงษ์ อัปมะระกา : นายช่างโยธา
10.นางลำไพมะณี มะลิเลิศ : นักพัฒนาชุมชน
11.นายสุริยา สิงห์หาญ : จพง.พัสดุ
12.นางวิไลลักษณ์ วรวิเศษ : เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
13.นางสาวอรนงค์ มะลาพิมพ์ : ผช.บุคลากร
14.นายอุดร สิงห์หาญ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
15.นายอ่อนสี ปะนามะสา : นักการภารโรง

..........บุคลากรฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย

1.นายวรวิทย์ ปักกาโล : นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2.นายวิชิต อุตนะ : รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
3.นายสมร ปะนะภูเต : รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
4.นางภัชริดา ขาวภา : เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

..........บุคลากรฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านยางอิไล
(1) นางคำนาง คำจันทร์ (ประธานสภา)
(2) นายอุดร ปะจันทะสี
หมู่ที่ 2 บ้านกู่
(1) นายสงกา ปะนาโต
(2) นายสันติ พิมพ์มยัง
หมู่ที่ 3 บ้านดงสวรรค์
(1) นายสมหวัง พิมยัง
(2) นายรังสิต ปะนาตา
หมู่ที่ 4 บ้านหนองแคนน้อย
(1) นายชุมพล แสนมี
(2) นายวิโรจน์ อุตนะ (เลขานุการสภา)
หมู่ที่ 5 บ้านหนองทุ่ม
(1) นายวิสัน อัคฮาด
(2) นายสมบัติ ปินะโต
หมู่ที่ 6 บ้านสระบัว
(1) นายนิกร ศรีวงยาง
(2) นางนวลละออง แก้ววิเศษ
หมู่ที่ 7 บ้านหนองเปือยน้อย
(1) นายจตุรงค์ ปะนะภูเต
(2) นายประวัติ อัปมะโต
หมู่ที่ 8 บ้านดอนก่อ
(1) นายสมนึก ทองทูล
(2) นายทองใบ ศรีวงยาง
หมู่ที่ 9 บ้านโนนเมือง
(1) นายสีลา มิทะลา
(2) นายสุวรรณ เมรุตตัง

๏ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่โนนเมือง
..........ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ ๔ คน คือ
..........๑.นางวราภรณ์ กรโสภา ผู้อำนวยการ
..........๒.นางสาวอรวรรณ พันธ์โสภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
..........๓.นางสะอาด ปัจจัยโค พนักงานผู้ช่วยเจ้าหน้าที่
..........๔.นางสาวเสาวลักษณ์ ปะนาตา พนักงานบันทึกข้อมูล

๏ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลกู่สันตรัตน์

..........ตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนขององค์การแพลนประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนเด็กอายุ 3 – 5 ขวบ ในพื้นที่ตำบลกู่สันตรัตน์ มีนักเรียน จำนวน คน

บุคลากร/เจ้าหน้าที่ 3 คน คือ

1.นางสาวนุชรัตน์ ปะนะภูเต : ผู้ดูแลเด็ก
2.นางกัญญารัตน์ มาศบิ้ง : ผู้ดูแลเด็ก
3.นางสาวสุกัญญา สุทธิสน : ผู้ดูแลเด็ก

๏ โบราณสถานกู่สันตรัตน์

....................กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลง เป็นอโรคยาศาล ที่สร้างตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระมหากษัตริย์ขอม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นปราสาทหิน ที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนาทางด้านมุมตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน อาคารทั้ง 2 ล้อมรอบด้วยกำแพง ซึ่งมีซุ้มประตูทางด้านตะวันออกอีกที่หนึ่ง ส่วนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ประธาน เป็นสระน้ำซึ่งก่อผนังด้วยศิลาแลง ลดชั้นลงไปตามลำดับ

....................กู่สันตรัตน์ เป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพ หรือ หอสวดมนต์ในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ในปี พ.ศ.2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จมาที่กู่สันตรัตน์ ได้ขุดพบพระวัชรธร พระนาคปรก ทำด้วยหินทรายสีเขียว ในความเชื่อของพระอาทิตยพุทธผู้สร้างโลก ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ในปี พ.ศ.2545 ได้รับงบประมาณพัฒนากู่สันตรัตน์ จำนวน 2,770,000 บาท และได้ขุดพบเทวรูปและพระพุทธรูป 5 องค์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(นั่ง) พระยมทรงกระบือ พระโพธิสัตว์วัชรปราณีทรงครุฑ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ยืน) พระนาคปรก ในช่วงวันที่ 9 – 14 มิถุนายน 2545 และขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่วัดกู่ใต้ บ้านกู่ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และมีแผนงาน/โครงการสร้างพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปได้สักการะกราบไหว้

...................กู่สันตรัตน์ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ และประกาศขอบเขตโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๐ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ พื้นที่ ๕ ไร่ ๓ งาน
....................ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ องค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์ ได้อนุมัติงบประมาณ ๑ ล้าน ๓ แสนเศษวางฐานรากพิฑิธภัณฑ์กู่สันตรัตน์ โดยจังหวัดมหาสารคามจะสนับสนุนงบประมาณ วงเงิน ๑๐ ล้านบาท ในการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และการท่องเที่ยวต่อไป

..................กู่สันตรัตน์ มีการจัดพิธีสรงน้ำในงานสรงกู่เป็นประจำโดยจัดงานในวันขึ้น 14 - 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีและจัดงานบวงสรวงกู่สันตรัตน์ก่อนวันเปิดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน 1 วันเป็นประจำทุกปี

๏ ศาลานางขาว

..........ศาลานางขาวตั้งอยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตรก่อสร้างด้วยศิลาแลง ขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ความสูงไม่ปรากฏชัดเพราะพังทลายลงหมดแล้ว จากการสันนิษฐานว่าคงเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจอีกแห่งหนึ่ง และทางด้านทิศตะวันออกจะเป็น โรงช้าง โรงม้า เพราะมีหลักฐานที่ปรากฏอยู่คือเสาไม้เสี้ยมปลายขนาดความยาวประมาณ 5 เมตร ยังเหลืออยู่หลายสิบต้น และพบกระดูกฟันสัตว์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นโบราณสถานแห่งนี้คงเป็นสถานที่สำคัญไม่น้อย เพราะได้ขุดพบหลักศิลาจารึก 14 บรรทัด จำนวน 1 หลัก และขุดค้นพบเทวรูปนางอุมาทำด้วยหินทรายสีขาว 1 คู่ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ศาลานางขาว” คงเนื่องมาจากได้ขุดค้นพบเทวรูปนางอุมา ซึ่งทำด้วยหินทรายสีขาวนั่นเอง จึงได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ศาลานางขาว”

๏ เมืองโบราณ

..........เมืองโบราณเป็นย่านที่อยู่ของชุมชนขนาดใหญ่ มีชื่อเรียกว่า”นครจำปาศรี”ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกู่ บ้านดงสวรรค์ บ้านหนองแคน บ้านหนองทุ่ม บ้านสระบัว ตำบลกู่สันตรัตน์ และบ้านโพธิ์ทอง ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

..........นครจำปาศรีมีลักษณะตัวเมืองเป็นรูปไข่ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทินดิน 2 ชั้น มีคูอยู่กลาง คูกว้างประมาณ 20 เมตร เชิงเทินดินสูง 3 เมตร และกว้างประมาณ 6 เมตร มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16

..........นครจำปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในถิ่นแถบนี้มาแล้วในอดีต จากหลักฐานโบราณคงสภาพให้เห็นอยู่ในปัจจุบันและโบราณวัตถุที่ขุดพบในเขตโบราณสถานและเขตเมืองโบราณ พอสันนิษฐานได้ว่า นครจำปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุคด้วยกันคือ

..........1.ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200
..........2.ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ.1600-1800

..........นอกจากนั้น ในเขตพื้นที่อำเภอนาดูน ยังมีโบราณสถาน พุทธสถาน และสถานที่ที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ เช่น พระธาตุนาดูน บ่อนำศักดิ์สิทธ์ กู่น้อย พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี ฯลฯ

๏ พุทธมณฑลอีสาน พระบรมธาตนาดูน

..........ตั้งอยู่ ณ โคกดงเค็ง ที่ป่าสาธารณะ ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในเนื้อ ที่ ๙๐๒ ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ขุดพบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๒ กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูนไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร
..........เหตุผลที่ไม่ตั้งอยู่ที่ขุดพบ เพราะที่ขุดพบเป็นที่นาของราษฎรมีเนื้อที่ขนาดเล็ก เป็นที่ลุ่มจะต้องซื้อที่ดินเพิ่มและถมดินขึ้นอีกส่วนสถานที่ตั้งปัจจุบันเป็นที่เนินสูง เนื้อที่กว้างขวางและเป็นพื้นที่ของทางราชการ เหมาะที่จะตั้งพระธาตุ และขยายหน่วยงานของทางราชการได้อีกมาก
..........ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ กรมศิลปากรและราษฎรในตำบลนาดูน ได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินซึ่งเป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎรท้องที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้ว ประดิษฐานในผอบ ๓ ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวมซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะทรงกลมสูง ๒๔. ๔ เซนติเมตร ถอดออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนยอดสูง ๑๒. ๓ เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง ๑๒. ๑ เซนติเมตร
..........ชาวจังหวัดมหาสารคามดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐานไว้ให้ถาวร มั่นคง เป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๕ – ๒๕๒๙ ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูล เกี่ยวกับอาณาจักรจำปาศรีนครโบราณของบริเวณนี้ ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑– ๑๕ ประกอบด้วย วัด สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็งมีปริมณฑล ๙๐๒ ไร่เศษ
..........เจดีย์พระธาตุนาดูนมีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองสำริด ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปกรรมแบบทวารวดี ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากร สูง ๕๐ . ๕๐ เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๓๕ . ๗๐ เมตร
..........พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ ก่อสร้างเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๙ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗,๕๘๐,๐๐๐ บาท ( เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน ) เพื่อสร้างพระธาตุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยกรมศิลปากรได้ให้นายประดิษฐ์ สุนทโรวาท สถาปนิกกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและว่าจ้าง หจก. ศิวกรก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างที่เลขที่ ๑๔ / ๒๕๒๘ กำหนดแล้วเสร็จบริบูรณ์ ในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๐ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาบรรจุในองค์เจดีย์ พระธาตุนาดูนนี้
..........ส่วนประกอบขององค์พระธาตุนับจากส่วนล่างถึงยอดฉัตรแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
..........๑)ส่วนฐาน มี ๓ ชั้น คือ
..........ชั้นที่ ๑ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยนจตุรัส มีบันไดขึ้นตรงกลางทั้งสี่ด้าน สูงจากฐานราก ๓.๗๐ เมตร แต่กลบดินไว้ในส่วนล่างเหลือโผล่ขึ้นเหนือดิน เพียง ๑.๕๐ เมตร รอบ ๆ ฐานประดับด้วยรูปยักษ์แบกปูนปั้นซึ่งหมายถึงการยอมรับพระพุทธศาสนาตามแบบสถาปัตยกรรมสมัย ทวารวดี
..........ชั้นที่ ๒ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง สูง ๕ เมตร มีชั้นทางเดินปูด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่รอบ ชั้นนี้ ตรงกลางของแต่ละด้านประดับด้วยซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปแต่ละช่วงของมุมตกแต่งด้วยพระพิมพ์ดินเผาจำลองขนาดใหญ่กว่าองค์จริงที่ขุดค้นพบได้ในบริเวณเมืองโบราณนครจำปาศรีทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังได้ประดับตกแต่งลวดลายแบบทวาราวดี บนซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ที่มุมทั้งสี่ของชั้นที่ ๒ นี้ มีพระธาตุขนาดเล็กซึ่งจำลองมาจากองค์ใหญ่ตั้งอยู่ประจำ
ในทิศเฉียง แต่ละองค์มีปล้องไฉน ๑๓ ปล้อง เปรียบกับพระโพธิสัตว์ ๑๓ ชาติ
..........ชั้นที่ ๓ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง เช่นเดียวกับชั้นที่ ๒ ตรงกลางของแต่ละด้าน มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทิศตามปรัชญาทางวัชรยาน ทิศตะวันออก คือ พระอักโขภยา พุทธะ ทิศตะวันตก คือ พระอมิตาภะ พุทธะ ทิศเหนือ คือ พระอะโมฆะสิทธิ และทิศใต้ คือ พระรัตนะสัมภวะ แต่ละองค์ต่างก็ประทับเป็นประธานของแต่ละเขต เพื่อช่วยให้สรรพสัตว์เข้าสู่พระอาทิพุทธซึ่งประทับอยู่ตรงกลางสวรรค์และมุ่งสู่นิพพาน ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสลดชั้น ซ้อนกันเป็นทรงเรือนธาตุ สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี
..........๒) ส่วนองค์พระธาตุ ก่อนจะถึงองค์พระธาตุ จะเป็นชั้นทรงแปดเหลี่ยมสูง ๑.๖๐ เมตร ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนฐานกับส่วนองค์พระธาตุ ชั้นดังกล่าวนี้วางรองรับลวดบัวหงาย ซึ่งเป็นปากขององค์พระธาตุทรงระฆังกลมตามลัทธิความเชื่อแบบฮินดูที่ว่ารูปสี่เหลี่ยม คือ โลกมนุษย์ รูปแปดเหลี่ยมเป็นห้วงอวกาศและรูปทรงกลมเป็นห้วงสวรรค์ ส่วนล่างขององค์พระธาตุเป็นฐานกลม ประดับด้วยบัวหงายล้อมรอบสูง ๑.๐๐ เมตร ดอกบัวหมายถึงแสงสว่าง และความรุ่งเรือง ส่วนองค์พระธาตุเป็นระฆังทรงสูง พัฒนามาจากรูปครึ่งวงกลม มีความสูง ๑๑.๐๐ เมตร เป็นชั้นที่ใช้ประดิษฐานสถูปพระบรมสารีริกธาตุองค์ที่ขุดพบได้ดังกล่าวแล้ว ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีนำขึ้นบรรจุ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๐
..........องค์ระฆังในส่วนที่เป็นโดมหรืออัณฑะ (ANDA) คือ ส่วนสำคัญที่สุดของเจดีย์เพราะเป็นแหล่งบรรจุเก็บสิ่งต่าง ๆ เหมือนกับครรภ์ของมนุษย์ที่สนองตอบความต้องการอาหาร ความอยากได้อยากมี ตลอดจนกามารมณ์ ทางพุทธศาสนาจัดอยู่ในชั้นกามภูมิแต่พราหมณ์ ถือว่าเป็นชั้นสูงสุด ภายในองค์ระฆังนี้เป็นโพรง เรียกว่า คูหา ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
..........๓) ส่วนยอดของพระธาตุก่อนจะถึงส่วนยอดเป็นแท่นบัลลังก์รองรับท่อนทรงหม้อน้ำ สูง ๔.๖๐ เมตร ตัวแทนบัลลังก์เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมตามตำราสิงหลถือว่าเป็นแท่นบูชาอันสูงสุด เรียกว่า หารมิกา (HARMIKA) ส่วนหม้อน้ำมีรูปทรงหม้อน้ำเรียกว่า หม้อปูรณะฆฎะ หมายถึง หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ หม้อน้ำของพระธาตุนาดูน ตั้งอยู่บนแท่นบัลลังก์เหนือองค์ระฆังแล้วต่อด้วยปล้องไฉน จึงเรียกว่าเป็นพระธาตุทรงหม้อน้ำ (KALASAX) ส่วนปล้องไฉนที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ส่วนฉัตรวาลี (CHATRAVALI) มีจำนวน ๖ ปล้อง เรียงขนาดลดหลั่นลงจากล่างไปบน สูงรวมกัน ๖.๘๐ เมตร หมายถึง ชั้นของเทวภูมิทั้งหกตามนิกายหินยานของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามภูมิและชั้นปรมนิมมิตวสวัตตีภูมิ ส่วนสูงสุดคือส่วนของปลียอดลูกแก้วหรือฉัตรยอด มีความสูงรวมทั้งหมด ๑๒.๐๐ เมตร ลูกแก้ว หมายถึง ดวงอาทิตย์ที่ให้แสงสว่างให้พลังงานและความอบอุ่นแก่มวลมนุษย์ ลูกแก้วสถิตอยู่ใต้ฉัตรยอด ถือว่าเป็นอรูปภูมิ เป็นทางผ่านไปสู่ชั้นนิพพาน (NIRVANA) ซึ่งเป็นชั้นแห่งความดับกิเลสธุลี และตัณหาทั้งปวง
..........ในทุก ๆ ปี จะมีการจัดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน กำหนด 9 วัน 9 คืน โดยยึดเอาวันมาฆบูชาเป็นหลัก เริ่มเปิดงานในวันเสาร์ก่อนวันมาฆบูชา ปิดงานในวันอาทิตย์หลังวันมาฆบูชา และจะมีการเวียนเทียนที่ยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาร่วมงานจำนวนมากในวันมาฆบูชา ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ 4)

๏ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

..........บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นบ่อน้ำที่ผุดดันขึ้นจากใต้พื้นดินอยู่ตลอดเวลาไม่มีเหือดแห้ง ตั้งอยู่บนพื้นที่นาของ นายก้าน ปัจจัยโก ชาวบ้านทั่วไปเรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า “บ่อน้ำดูน” หรือ “หนองน้ำดูน” นาที่อยู่ใกล้บ่อน้ำแห่งนี้เรียกว่า “นาน้ำดูน”ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่า”นาดูน”หมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้เรียกว่า “บ้านนาดูน”

..........บ่อน้ำศักดิสิทธิ์ตั้งอยู่ที่ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูนไปทางทิศเหนือประมาณ 3.5 กิโลเมตร

..........สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์”เนื่องจาก เมื่อ พ.ศ.2468 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้หัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดหาน้ำในสระ หรือ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จัดส่งไปไปร่วมในพระราชพิธีรัชมหามังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 7 ทรงเสวยราชย์ พระยาสารคามคณาภิบาล (อนังค์พยัคฆันต์) ข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม(ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม)ในขณะนั้น ได้สั่งให้รองอำมาตย์เอกหลวงพิทักษ์นรากร นายอำเภอวาปีปทุม จัดหาน้ำมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ รองอำมาตย์เอกหลวงพิทักษ์นรากรได้ประชุมข้าราชการและประชาชน มีมติให้นำน้ำจากหนองน้ำดูนไปเข้าร่วมพิธีโดยได้ส่งมอบน้ำให้พระยาสารคามคณาภิบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจัดส่งไปยังสมุหเทศาภิบาลร้อยเอ็ด และกรุงเทพฯ ต่อไป

..........พ.ศ.2494 ประชาชนได้ข่าวลือทั่วไปว่า ถ้าใครเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโรค เช่น เป็นโรคง่อยเปลี้ย เสียขา ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือเป็นโรคอื่น ๆ เมื่อได้น้ำจากบ่อน้ำดูนไปอาบ ไปกินโรคนั้นก็จะหาย จึงมีประชาชนจากอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้หลั่งไหลไปตักน้ำจากบ่อน้ำแห่งนี้ไปรักษาโรคกันเป็นจำนวนมาก

..........ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 กระทรวงมหาดไทยได้ให้จังหวัดมหาสารคามนำน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำมังคลาภิเษกในวันเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง นายไสว พราหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้ประชุมนายอำเภอทุกอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด พิจารณาหาน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในเขตจังหวัดมหาสารคาม ที่ประชุมมีมติให้นำน้ำจากบ่อน้ำดูน หรือหนองน้ำดูนแห่งนี้ส่งเข้าทูลเกล้า ฯ ในพระราชพิธีดังกล่าวโดยได้ประกอบพิธีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 เวลา 09.00 น แล้วนำไปพักไว้ที่พระอุโบสถวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม และได้ส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเข้าร่วมพิธีต่อไป

..........และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 จังหวัดมหาสารคามได้ประกอบพิธีกรรมตักน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ เพื่อเข้าร่วมประกอบพระราชพิธีถวายสวัสดิมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยนายประสิทธิ์ เอี่ยมประชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีกรรมตักน้ำ ณ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เวลา 16.39 น.และนำน้ำไปพักไว้ที่พระอุโบสถวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อประกอบพิธีเสกน้ำ และส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป จึงเรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์”

๏ กู่น้อย

..........กู่น้อยตั้งอยู่ที่บ้านโพธิ์ทอง (ปากทางนาดูน) ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสีแดง มีปรางค์กู่ 1 หลัง ตั้งอยู่ตะวันตกจะสร้างเป็นอาคารไม้สำหรับเป็นที่พักและประกอบศาสนกิจ ปัจจุบันอาคารไม้ไม่เหลือให้เห็นคงเหลือเฉพาะหลุมหินสำหรับฝังเสาขนาดใหญ่เท่านั้น โบราณสถานแห่งนี้ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ เศียรเทวรูป พระกรเทวรูป เป็นต้น พ.ศ.2544 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่นได้ทำการสำรวจขุดค้นบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานแห่งนี้จนเสร็จสมบูรณ์และสวยงามน่าทัศนศึกษาเป็นอย่างมาก

๏ พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี

..........พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี ก่อสร้างเมือ พ.ศ.2543 ตั้งอยู่ห่างจากพระธาตุนาดูนไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร เป็นสถานที่จัดแสดงและเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ขุดค้นพบที่เขตเมืองโบราณนครจำปาศรี และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตัวอาคารมีลักษณะรูปตัว L ขนาด 31x38 เมตร ประกอบด้วยอาคารต่อเชื่อม 2 หลัง ได้แก่ อาคารจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และอาคารที่ทำการ เชื่อมต่อด้วยระเบียงมุงหลังคา มีซุ้มบันไดอยู่ตรงกลาง ทางด้านข้างทางทิศตะวันออกของอาคารจัดแสดงเป็นสระน้ำปลูกบัวหลากหลายสีสวยงาม โบราณวัตถุที่จะนำมาเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบที่โบราณสถาน และในเขตเมืองโบราณนครจำปาศรี เช่น พระวัชรธร พระนาคปรก พระอิศวร พระนารายณ์ เทวรูป พระพิมพ์ดินเผากรุพระธาตุนาดูน และภาชนะเครื่องใช้ดินเผา เป็นต้น จากประวัติศาสตร์ของนครจำปาศรี จนถึงพระธาตุนาดูน ร่องรอยอารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นหรือเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา ทำให้ทราบว่าดินแดนแห่งนี้เคยมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านความศรัทธาพระพุทธศาสนา และมีภูมิปัญญาในการรังสรรค์สิ่งก่อสร้างเพื่อการสักการะบูชา การผลิตสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้อย่างประณีตมีคุณค่า เราชนรุ่นหลังควรที่จะร่วมกันอนุรักษ์มรดกของท้องถิ่นแห่งนี้ และควรสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนให้สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะส่งผลให้เกิดความหวงแหน และความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของจังหวัด

๏ อำเภอนาดูน

..........อำเภอนาดูน เดิมเป็นหมู่บ้านที่ได้ยกฐานะให้เป็นตำบล มีชื่อว่า “ตำบลนาดูน” อยู่ในความปกครองของอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคามไปทางทิศใต้ประมาณ 65 ก.ม. และอยู่ห่างจากอำเภอวาปีปทุม ไปทางทิศใต้ประมาณ 26 ก.ม. การเดินทางไปติดต่อทางราชการของประชาชน ไปมายากลำบากมาก เนื่องจากระยะทางไกล การคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางเท้า ใช้สัตว์ หรือล้อเกวียน เป็นพาหนะ ประกอบกับมีป่าไม้เกิดขึ้นหนาแน่น เป็นที่หลบซ่อนของโจรผู้ร้าย โดยเฉพาะโจรปล้นทรัพย์สินมีชุกชุมมาก ด้วยสาเหตุดังกล่าวประชาชนชาวตำบลนาดูนจึงได้ปรึกษาหารือกันทำเรื่องราวขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูน

……….ปี พ.ศ. 2508 คณะทำงานได้ทำเรื่องราวขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูน ยื่นต่อนายเกษมศักดิ์ มหาปรีชาวงศ์ นายอำเภอวาปีปทุม ผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทย และได้จัดหาที่ดินสำหรับปลูกสร้าง สถานที่ส่วนราชการได้จำนวน 502 ไร่ นอกจากนั้นเป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์

……….ตำบลนาดูนได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2512 มีตำบลเข้าร่วมจัดตั้งครั้งแรก 4 ตำบล โดยแยกมาจากอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3 ตำบล คือ

……….1. ตำบลนาดูน
……….2. ตำบลหนองไผ่
….…..3. ตำบลหนองคู
.........4. ตำบลดงบัง แยกมาจากตำบลภารแอ่น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้แยกจัดตั้งตำบลขึ้นอีก 5 ตำบล ตาม ลำดับ ดังนี้
……….5. ตำบลดงดวน แยกหมู่บ้านมาจากตำบลนาดูน ส่วนหนึ่งและหมู่บ้านในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อีกส่วนหนึ่ง
……….6. ตำบลหัวดง แยกหมู่บ้านมาจากตำบลดงบัง ส่วนหนึ่งและตำบลดงดวนอีกส่วนหนึ่ง
……….7. ตำบลดงยาง แยกหมู่บ้านมาจากตำบลหนองคูส่วนหนึ่ง ตำบลนาดูนส่วนหนึ่ง และตำบลหนองไผ่ อีกส่วนหนึ่ง
……….8. ตำบลกู่สันตรัตน์ แยกหมู่บ้านมาจากตำบลนาดูนส่วนหนึ่งและตำบลหนองไผ่อีกส่วนหนึ่ง
……….9. ตำบลพระธาตุ แยกหมู่บ้านมาจากตำบลกู่สันตรัตน์ส่วนหนึ่ง และตำบลดงบังอีกส่วนหนึ่ง

.............กิ่งอำเภอนาดูนได้ยกฐานะเป็นอำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522 ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 94 หมู่บ้าน

อาณาเขต

..........อำเภอนาดูนมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

1.ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
2.ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาเชือก และอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
3.ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
4.ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะภูมิประเทศ

..........ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของอำเภอนาดูนเป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกันไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีป่าไม้เบญจพรรณ เหลือบ้างเล็กน้อยทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่ บางแห่งจะมีดินเกลือปะปนซึ่งมีมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้

ลักษณะภูมิอากาศ

..........ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุม ฤดูฝนมีน้ำเฉลี่ยต่อปีน้อย ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด

อาชีพของประชาชน

..........ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพกสิกรรมเป็นหลักได้แก่ การทำนาซึ่งอาศัยน้ำฝน ไม่มีชลประทาน หรือแหล่งน้ำใหญ่ในการเพาะปลูกการทำไร่มันสำปะหลัง การทำไร่อ้อย การเลี้ยงสัตว์ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น นอกจากนั้นก็มี การประกอบอาชีพค้าขาย การอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ได้แก่ การเจียรไนพลอย การเย็บผ้า และอื่นๆ

การคมนาคม

..........การคมนาคมสามารถเดินทางไปติดต่อกับหมู่บ้านอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ได้สะดวกโดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ ซึ่งมีถนนลาดยางตัดผ่านหลายสาย นอกจากนั้นยังมีถนนลูกรังเชื่อมต่อหมู่บ้านและต่างอำเภอไปมาสะดวกตลอดปี

ศิลปวัฒนธรรม

..........ชาวนาดูน มีลักษณะนิสัยจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้อง รักความสงบ ชอบทำบุญทำกุศล ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม เป็นผู้ร่ำรวยด้วยวัฒนธรรม หมั่นทำบุญตามประเพณี 12 เดือน ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า ฮีตสิบสอง โดยเฉพาะความเชื่อความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนิยมศิลปะวัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองได้แก่ หมอลำหมู่ หมอลำกลอน หมอลำเพลิน ฯลฯ เช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป
นายอำเภอนาดูนคนปัจจุบัน ชื่อ นายแสงประทีป บุญน้อม

๏ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

ข้อมูลเบื้องต้น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งอยู่ที่ สำนักงาน สปอ.วาปีปทุม เดิม ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44120 มีภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานครอบคลุม พื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอวาปีปทุม นาดูน นาเชือก พยัคฆภูมิพิสัย และยางสีสุราช มีจำนวนสถานศึกษา.................โรง จำนวนนักเรียนจำนวน ............. คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้น .............. คน บุคลากรในสำนักงาน จำนวน............ คน

วิสัยทัศน์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 เป็นองค์กรนำในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เสมอภาค และมีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษา

พันธกิจ

จัดประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาคและมีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีประสิทธิภาพ
2. สถานศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
3. ครูและผู้บริหารเป็นบุคลากรมืออาชีพ
4. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

ชื่อ : ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

1.นายไพฑูรย์ อนุสัตย์ รองผู้อำนวยการ
2.นางสุภารีย์ โพนเงิน รองผู้อำนวยการ
3.นายเยื้อน สิทธิศาสตร์ รองผู้อำนวยการ
4.นายเฉลิมเกียรติ สง่าศรี รองผู้อำนวยการ
5.นายไพโรจน์ ดงเรืองศรี รองผู้อำนวยการ
6.นายสัมฤทธิ์ คำจันทร์ รองผู้อำนวยการ
7.นายสุภาพ จันทร์สม รองผู้อำนวยการ








วิสัยทัศน์

นักเรียนมีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

คำขวัญ

ส่งเสริมความรู้...เชิดชูคุณธรรม....นำประสบการณ์...สานความร่วมมือ





พันธกิจ

1.จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ใช้ทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานประกอบการในการบริหารจัดการการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
3.บริหารจัดการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาที่สนับสนุนชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4.เผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนต่อสาธารณชน

เป้าหมาย

1.จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.จัดให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

อักษรย่อ

: ก.ส.

เพลง

-

ปรัชญา

: นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี