ประวัติ

โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในวัดโฆสิตาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โดยมีนายอำเภอสรรคบุรีเป็นผู้จัดตั้ง เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลบางขุด 3 (วัดโฆสิตาราม) อาศัยศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เล่าเรียน อยู่ระหว่างรอยต่อของ 2 จังหวัด คือทิศใต้ติดกับ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และทิศตะวันตก ตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
การดำรงโรงเรียนครั้งนั้นด้วยเงินศึกษาพลีมี นายผึ้ง ม้วนหนู เป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นมูลศึกษา ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หยุดเรียนวันโกนครึ่งวัน และวันพระเต็มวัน
การย้ายโรงเรียน เนื่องจากศาลาการเปรียญที่เป็นสถานที่เรียนชำรุดทรุดโทรม และไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้ย้ายไปเรียนที่ศาลาการเปรียญวัดหัวเด่น และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลบางขุด 3” (วัดหัวเด่น)
การย้ายโรงเรียนครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดโฆสิตารามได้ดำเนินการสร้างศาลาการ-เปรียญหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ขอย้ายโรงเรียนจากศาลาการเปรียญวัดหัวเด่น มาเรียนที่ศาลาการเปรียญ
วัดโฆสิตารามตามเดิม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดโฆสิตาราม”
ในปี พ.ศ. 2504 พระอธิการกวย ชุตินฺธโร เจ้าอาวาสวัดโฆสิตารามและผู้ปกครองนักเรียนได้ริเริ่มในการก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น โดยของบประมาณจากกรมสามัญศึกษามาได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงพอกับการก่อสร้าง อาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ จำนวน 5 ห้องเรียน พระอธิการกวย ชุตินฺธโร ได้ร่วมกับประชาชนบริจาคอีกจำนวนหนึ่งจนสามารถสร้างอาคารเรียนจนแล้วเสร็จ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 214,000.- บาท พร้อมทั้งได้ดำเนินการย้ายนักเรียนจากศาลาการเปรียญมายังอาคารเรียนหลังใหม่ในปี พ.ศ. 2504
ในปี พ.ศ. 2526 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 103/26 จำนวน 2 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 340,000.-บาท
ในปี พ.ศ. 2528 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 103/26 จำนวน 2 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 340,000.-บาท
ในปี พ.ศ. 2534 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 103/26 จำนวน 3 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 684,000.-บาท และได้รับอนุมัติให้โรงเรียนดำเนินการรื้อถอนอาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากและได้นำวัสดุที่เหลือไปดำเนินการก่อสร้างหอประชุม
ในปี พ.ศ. 2541 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 8 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 2,195,000.- บาท
ในปี พ.ศ.2548 ศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อกวยชุตินธโร ได้จัดหาเงินเพื่อสร้างอาคารเรียนอนุสรณ์ 100 ปี หลวงพ่อกวยชุตินธโร ซึ่งเป็นอาคารเรียนสองชั้น จำนวน 1 หลัง มี 4 ห้องเรียน
ชั้นล่างเป็นห้องประชุม ใช้เงินจำนวน 2,000,000 บาท เศษ

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสาร มีทักษะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำไปใช้ในการดำรงชีวิต มีสุขภาพอนามัยดี นิยมความเป็นไทย และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

คำขวัญ

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม เลิศล้ำเทคโนโลยี

พันธกิจ

1. ส่งเสริมและจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี
2. พัฒนานักเรียนตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยที่โรงเรียนจัดทำไว้
3. พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
4. พัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการคิดคำนวณ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต
5. พัฒนาส่งเสริมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม แสดงความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของนักเรียน ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
6. พัฒนาและส่งเสริมด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และกิจกรรมนันทนาการ
7. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่เน้นความเป็นไทย

เป้าหมาย

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกัน
ในสังคมอย่างมีความสุข

อักษรย่อ

ฆส.

เพลง

ไม่มี

ปรัชญา

“การศึกษาสร้างชีวิต จิตมีคุณธรรม” สถานศึกษาเน้นการจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น พัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกาย เขียน อ่าน ฟัง พูด การคิดที่เป็นระบบด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพที่