ประวัติ

ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลบางละมุง
1.ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลบางละมุงตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63 หมู่ที่ 2 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์-โทรสาร 0-3824-0785
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ข้อมูลด้านการบริหาร
ชื่อ – สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียน นายมงคล แย้มเกษร
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบางละมุง
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนอนุบาลบางละมุง เปิดเรียนในปี พ.ศ. 2480 เดิมชื่อ “โรงเรียนวัดประชุมคงคา” ใช้ศาลา การเปรียญวัดเป็นอาคารเรียน ผู้บริหารโรงเรียนคนแรก คือ นายเติม อินตา ต่อมาได้จัดสร้าง ขึ้นใหม่ในที่ดินของโรงเรียนปัจจุบันนี้ เมื่อ 12 ธันวาคม 2491 โดยมีคณะกรรมการอำเภอบางละมุง ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ตรวจการประถมศึกษาพร้อมทั้ง กำนันอำเภอบางละมุง จัดสร้างขึ้นด้วยเงินของทางราชการคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 1600.- บาท (หนึ่งพันหกร้อยบาทถ้วน) เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น แบบ ป.2 มีมุขยื่นออกมา แต่การก่อสร้าง ทำไม่สำเร็จ คงสร้างได้เพียงโครงสร้างของอาคารเรียน ซึ่งยังขาด ฝา พื้น ประตู หน้าต่าง ยังใช้เป็นสถานที่เรียนไม่ได้
ต่อมาปี พ.ศ.2492 ทางโรงเรียนได้ของบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้เงิน 42,840 บาท (สี่หมื่นสองพันแปดร้อยสี่สิบบาท) มีคณะกรรมการดำเนินการสร้าง คือ
1. นายวิทยา ทองเพิ่ม ศึกษาธิการอำเภอบางละมุง
2. นายโชคชัย อินทราคม ผู้ตรวจการประถมศึกษา
ในการสร้างครั้งนี้ ได้รื้อของเก่า (แบบ ป.2) ออกทั้งหมด ได้จัดสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 ของกระทรวงศึกษาธิการ ยาว 9 เมตร ทั้งหมด 4 ห้อง มีมุขยื่น 1 ห้อง (แบบ ป.2) รวมเป็น 5 ห้อง ได้ลงมือก่อสร้างตั้งแต่เดือน มกราคม 2492 สร้างเสร็จเรียบร้อยเดือน ธันวาคม 2492 โดยย้ายการเรียน การสอนจากศาลาการเปรียญวัดประชุมคงคา มาเรียนที่อาคารเรียนในที่ดินปัจจุบันตั้งแต่บัดนั้น
ปี 2514 ได้รับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สร้างโรงเรียน 1 หลัง แบบ 017 จำนวน 8 ห้องเรียน ผู้รับเหมาได้สร้างส้วมแถม 1 หลัง พร้อมเสาธง 1 ต้น สร้างเสร็จเมื่อ 1 มกราคม 2515 รวมเป็นเงินค่าก่อสร้าง 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)
ปี 2514 เปิดขยายชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 (ป.5-7) มีนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน
ปี 2518 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง คิดเป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี 2519 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 017 จำนวน 10 ห้องเรียน ได้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2520 ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 720,000 บาท (เจ็ดแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยได้รับงบพัฒนาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 นายประสิทธิ์ จิตอารีย์
ปี 2519 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญ 1 หลัง คิดเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปี 2520 กรมการศึกษา ครู พร้อมประชาชน ได้บริจาคเงินสร้างประปาโรงเรียน คิดเป็นเงิน 16,094 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันเก้าสิบสี่บาทถ้วน)
ปี 2521 ได้จัดสร้างหอประชุมโดยการรื้ออาคารหลังเก่า นำไม้มาดัดแปลงสร้างใหม่ โดย นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้อนุมัติเงินในโครงการเข้าถึงประชาชนเป็นเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้จัดชุมนุมศิษย์เก่า ได้เงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) และประชาชนบริจาคเพิ่มเติมอีก 8,434 บาท (แปดพันสี่ร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) (อาคารฝึกอาชีพ)
ปี 2524 ได้งบประมาณจาก ส.ส.(จ่าสิบเอกอุดม โอภาศรี) สร้างอาคารเรียนแบบ 017 ก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
ปี 2528 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ กว้าง 14 เมตร ยาว 32 เมตร แบบ สปช.205/2526 เป็นเงิน 824,000 บาท (แปดแสนสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) พร้อมโต๊ะ 72 ตัว ม้านั่ง 144 ตัว สร้างเสร็จในเดือน เมษายน 2528
ปี 2529 ได้รับงบประมาณจากสภาผู้แทนราษฎร (นายอุทัย พิมพ์ใจชน) สร้างสนามเด็กเล่น คิดเป็นเงิน 28,000 บาท (สองหมื่นแปดพันบาทถ้วน) ได้รับงบพัฒนาจังหวัดจาก ส.ส.จรูญ งามพิเชษฐ์ ส.ส. เขต 2 สร้างห้องน้ำ ห้องส้วม จำนวน 3 ห้อง คิดเป็นเงิน 49,730 บาท (สี่หมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)
ปี 2531 ได้สร้างอ่างล้างมือหลังอาคาร 3 งบประมาณในการก่อสร้างคิดเป็นเงิน 9,974 บาท (เก้าพันเก้าร้อยเจ็ดสิบสี่บาทถ้วน) งบบริจาค
ปี 2531 นายรณชัย สิริมณีรัตน์ กำนันตำบลบางละมุง ได้จัดสร้างหอพระให้กับทางโรงเรียน โดยรวบรวมเงินบริจาคจากประชาชน จำนวน 84,508 บาท (แปดหมื่นสี่พันห้าร้อยแปดบาทถ้วน) ทางโรงเรียน จัดงานสอยดาวปีใหม่ได้เงิน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) เงินเหลือจากค่าใช้จ่ายงานปีใหม่หมู่บ้านอีก 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน) รวมเป็นเงินที่หามาได้ 94,508 บาท (เก้าหมื่นสี่พันห้าร้อยแปดบาทถ้วน) งบประมาณในการก่อสร้างหอพระทั้งหมด 95,121 บาท (เก้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยยี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) ยังขาดอีก 613 บาท (หกร้อยสิบสามบาทถ้วน) นายรณชัย สิริมณีรัตน์ เป็นผู้จ่ายทั้งหมด
ปี 2532 ชมรมฟุตบอลโรงโป๊ะคัพ ได้จัดแข่งขันฟุตบอลมีเงินเหลือสุทธิ 23,700 บาท (สองหมื่น สามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) คณะกรรมการดีฬามอบให้ นายรณชัย สิริมณีรัตน์ กำนันตำบลบางละมุง ปรับปรุงเวทีหอประชุมโรงเรียน
ปี 2532 คณะกรรมการศึกษาโรงเรียน ครู เหล่ากาชาดอำเภอบางละมุงและผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างบ่อน้ำใต้ดินมอบให้โรงเรียนขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 520 เมตร ลึก 3 เมตร และ นางกุหลาบ ทำการดี บริจาคหินคิดเป็นเงิน 2,200 บาท (สองพันสองร้อยบาทถ้วน) สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2532 รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
ปี 2534 โครงการเร่งรัดพัฒนาจังหวัด โดย ส.ส.จรูญ งามพิเชษฐ์ ได้สร้างบ่อน้ำฝน ถังน้ำใต้ดินให้ 1 บ่อ สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 17 มกราคม 2534
ปี 2535 กรมการปกครอง สร้างถังน้ำใต้ดิน โครงการช่วยภัยฝนแล้ง 1 ที่ เป็นเงิน 440,000 บาท (สี่แสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
ปี 2535 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักภารโรง แบบ สปช.304/28 เป็นเงิน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)
ปี 2536 โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) สร้างถังน้ำให้ 1 ถัง
ปี 2536 มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้โรงเรียนประถมศึกษาเปิดขยายโอกาสทางการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1
ปี 2536 ได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาพิเศษ 230,000 บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน) จาก ส.ส.ธงชัย พิมพ์สกุล สำหรับโครงสร้างห้องสมุด โรงเรียนได้จัดสร้างไว้บนบ่อน้ำฝน
ปี 2537 ได้รับงบประมาณจากนายรณชัย สิริมณีรัตน์ กำนันตำบลบางละมุง น.ส.จำเนียร สิริมณีรัตน์ พร้อมญาติ วางศิลาฤกษ์อาคารแบบ สปช.105/29 1 หลัง 8 ห้องเรียน สร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อาคารเรียน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,796,000 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่น หกพันบาทถ้วน) และนายจรูญ หอมขจร พร้อมด้วยชาวบ้านโรงโป๊ะบริจาคเงินสร้างโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน จำนวน 120 ชุด เป็นเงิน 78,000 บาท (เจ็ดหมื่นแปดพันบาทถ้วน)
ปี 2538 ได้รับงบประมาณจาก ส.ส.อุทัย พิมพ์ใจชน ซื้อโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
ปี 2538 ได้รับงบประมาณสร้างสนามบาสเก็ตบอล แบบ สปช. 1 สนาม เป็นเงิน 128,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันบาทถ้วน)
ปี 2540 สร้างส้วมอนุบาล 2 ที่ งบบริจาค เป็นเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)
ปี 2541 ได้รับงบก่อสร้างส้วม สปช.601/26 จำนวน 2 หลัง 8 ที่ งบประมาณ 222,000 บาท (สองแสนสองหมื่นสองพันบาทถ้วน)
ปี 2542 คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี มีมติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน “โรงเรียนบ้านโรงโป๊ะ” เป็น “โรงเรียนอนุบาลบางละมุง (บ้านโรงโป๊ะ)” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2542
ปี 2542 ได้รับงบประมาณ สปช. สร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 1 หลัง 4 ห้องเรียน พร้อมกระดานดำ โต๊ะเก้าอี้นักเรียน 120 ชุด เป็นจำนวนเงิน 1,834,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสามหมื่นสี่พัน บาทถ้วน) เริ่มดำเนินการก่อสร้าง 28 กันยายน 2542 แล้วเสร็จ ธันวาคม 2542
ปี 2542 สร้างรั้วโรงเรียนด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ ประตูโรงเรียน ใช้งบบริจาค เป็นเงิน156,500 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นหกพันห้าร้อยบาทถ้วน)
ปี 2542 ได้งบสร้างส้วม สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่ งบประมาณ 110,000 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
ปี 2543 ขุดบ่อน้ำอุปโภค งบบริจาค 7,364 บาท (เจ็ดพันสามร้อยหกสิบสี่บาทถ้วน)
ปี 2543 สร้างรั้วโรงเรียนด้านทิศตะวันตก เป็นเงิน 125,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี 2543 สร้างหอส่งน้ำสูง งบบริจาค 66,768 บาท (หกหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกสิบแปดบาทถ้วน)
ปี 2547 สร้างห้องสมุด ด้วยเงินบริจาค จากคณะกรรมการและ ดร.ถาวร-อุษา พรประภา เป็นเงิน 990,000 บาท (เก้าแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน)

สภาพปัจจุบัน
โรงเรียนอนุบาลบางละมุง เป็นโรงเรียนขยายโอกาส จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 903 คน จำนวนครู 47 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

วิสัยทัศน์

ส่งเสริมคุณธรรม พร้อมนำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี วิถีชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข มีความสุขร่วมชุมชน

คำขวัญ

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นจิตอาสา
พัฒนาชุมชน

พันธกิจ

1. ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้
2. ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีและมีนวัตกรรมแบบทันสมัย
4. ส่งเสริมการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. ส่งเสริมการลดภาวะโลกร้อน
8. พัฒนาอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้

เป้าหมาย

1. นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและ เป็นธรรม
2. นักเรียนมีคุณภาพ มีคุณธรรม เป็นคนดี มีความรู้ และมีความสุข
3. โรงเรียนมีการจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษา

ปรัชญา

สถานศึกษาดี ผู้เรียนมีคุณธรรม มีคุณภาพ ชุมชนร่วมช่วยพัฒนา