ประวัติ

ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ตรงกับวันที่๑๕ มิถุนายน๒๔๘๕ เดิมชื่อโรงเรียนบ้านหนองคู(ประชาตำบลกู่ ๗)ตั้งอยู่บ้านหนองคู หมู่ที่๑๐ ตำบลดู่ โดยอาศัยราษฎรหมู่ที่๑๐บ้านหนองคูและบ้านไฮน้อย หมู่ที่๓ ซึ่งมีนายปัญญา แหวนเงิน ผู้ใหญ่บ้านหนองคูและนายแต้ม ทองกำ ผู้ใหญ่บ้านไฮน้อยร่วมกับนายคำ ศรีระษา(ครูใหญ่)พากันจัดตั้งขึ้นโดยสร้างแบบอาคารชั่วคราวทำด้วยไม้หลังคามุงด้วยหญ้าคา ซึ่งวัสดุดังกล่าวได้รับบริจาคจากชาวบ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านหนองคู เปิดทำการเรียนการสอนระดับชั้น ป.๑-ป.๔ มีจำนวนนักเรียน ๑๘๔ คน นายคำ ศรีระษา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และนายอ่อน ศรีบุญเรือง เป็นครูน้อย
พ.ศ.๒๔๘๕ วันที่๑๕กรกฎาคม นายคำ ศรีระษา ซึ่งเป็นครูใหญ่ได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากท่านมีความคิดว่า อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้าน้อยเพราะโรงเรียนที่ตั้งอยู่นั้นเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในท้องถิ่นถุรกันดาร การคมมาคมไม่สะดวก ความเป็นอยู่ของชุมชนยากจน นำที่ใช้อุปโภค บริโภคไม่มี จำเป็นต้องหาจากหมู่บ้านอื่นซึ่งระยะทางห่างไกล ท่านจึงตัดสินใจลงเลือกตั้งกำนันตำบลดู่ ทางราชการจึงได้ย้ายนายบา ทองเลิศ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านบัลลังก์มาแทนและบรรจุนายอุ่น เหมือนชอบ โรงเรียนจึงมีครูอยู่ ๓ คน ต่อมานายบา ทองเลิศ พร้อมด้วยราษฎรและผู้ใหญ่บ้านได้รื้อถอนอาคารเรียนจากที่เดิมไปสร้างใหม่ทางทิศใต้ของบ้านหนองคู สาเหตุมาจากที่ตั้งของโรงเรียนเป็นที่ดินของชาวบ้านและเป็นพื้นที่ทำนา ฤดูฦนจึงมีนำท่วมขัง การเดินทางมาโรงเรียนก็ลำบาก ต่อมานายอ่อน ศรีบุญเรือง และนายอุ่น เหมือนชอบ ได้ลาออกจากราชการ ได้ย้ายนายบา ทองเลิศไปอยู่โรงเรียนบ้านบัลลังก์ ได้นายบรรพต โสลิกา ครูใหญ่บ้านปรือคัน มาแทน
พ.ศ.๒๔๙๔ เมือ่วันที่๒๒กรกฎาคม ทางราชการได้ย้ายนายนวล คุณมาศ จากโรงเรียนบ้านตูม มาแทน วันที่๑๔ กันยายน ๒๔๙๕ ทางราชการได้ย้ายนายนวล คุณมาศ ไปเป็นครูใหญ่บ้านกู่และได้ย้ายนายบุญเลิศ มณีบุญมาแทน
พ.ศ.๒๔๙๙ เมื่อวันที่๑๐ กันยายน ทางราชการจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ที่บ้านไฮน้อย(แยกจากโรงเรียนบ้านหนองคู)ได้ย้ายนายโฮม พวงเทศไปเป็นครูใหญ่บ้านไฮน้อย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองคูซึ่งสังกัดโรงเรียนบ้านไฮน้อยก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบ้านไฮน้อย
พ.ศ.๒๕๐๐ วันที่๑ เมษายน นายบุญเลิศ มณีบุญ นายรินทร์ แหวนวงศ์ ครูน้อยและนายอุ่น เหมือนชอบ ผู้ใหญ่บ้านได้พาราษฎรในหมู่บ้านหนองคูสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังใหม่ขึ้นเพราะหลังเดิมชำรุดมาก โดยคิดค่าวัสดุในการก่อสร้าง ประมาณ ๖๐๐ บาท ซึ่งงบดังกล่าวได้รับบริจาคจากชาวบ้านในหมู่บ้าน
พ.ศ.๒๕๑๔ วันที่๑ เมษายน นายบุญเลิศ มณีบุญ ครูใหญ่ นายแผ่นเพชร จันทร์ทอง ครูน้อย นายนวล คุณมาศ(อดีตครูใหญ่)และนายสมาน พิกานนท์ นายอำเภอปรางค์กู่ ได้ย้ายโรงเรียนจากบ้านหนองคูมาตั้งในบ้านอาวอย ซึ่งระยะทางห่างจากโรงเรียนเดิมประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากสถานที่เดิมมีบริเวณคับแคบ โดยมาตั้งในเขตที่ดินของนายบุญเลิศ มณีบุญและที่ดินของราษฎรในหมู่บ้านอีก๓ราย รวมที่ดิน ๖ไร่ ๒ งาน เป็นที่ดินของโรงเรียนและตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโรงเรียนบ้านหนองคูจึงมีนักเรียนในสังกัด จำนวน ๔ หมู่บ้าน คือบ้านอาวอย,บ้านหนองเหล็ก,บ้านหนองคู,และบ้านสะเอิงและมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
พ.ศ.๒๕๒๐ วันที่๘ มกราคม ทางราชการได้ย้ายนายบุญเลิศ มณีบุญไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านดู่และได้ย้ายนายสนอง แก้วพิกุล ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดู่มาแทน ต่อมาวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๑ ทางราชการได้ย้ายนานบุญเลิศ มณีบุญ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านบ้านดู่ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองคูอีกครั้ง
พ.ศ.๒๕๓๓ วันที่ ๓๐ กันยายน นายบุญเลิศ มณีบุญ อาจารย์ใหญ่ได้เกษียณอายุราชการ ทางราชการได้แต่งตั้งนายเปี่ยง ทองกำ มารักษาราชการแทน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๔
พ.ศ.๒๕๓๔ วันที่๒ มกราคม นายราชันย์ ไชยชาญ ได้รับคำสั่งและแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองคู
พ.ศ.๒๕๓๔ วันที่ ๑ กรกฎาคม ทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ทั้ง ๖ โรงเรียนเป็นอาจารย์ใหญ่ระดับ ๗
พ.ศ.๒๕๓๖ นายราชันย์ ไชยชาญ ได้รับคำสั่งไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษา สปอ.บึงบูรพ์ สปจ.ศรีสะเกษ และทางราชการได้ย้ายนายชินพงศ์ พิมพ์จันทร์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านกะดึมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมโรงเรียนบ้านหนองคู เป็นโรงเรียนบ้านหนองคูอาวอยและนายชินพงศ์ พิมพ์จันทร์ ได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย จนถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙
พ.ศ.๒๕๔๙ วันที่ ๔ สิงหาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ ได้มีคำสั่งให้นายสุนทร คำเสียง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสามขา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย
ปีกาศึกษา ๒๕๕๒ โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาลปีที่๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๒๐๒ คน ครู ๙ คน ครูธุรการ ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กเรียนร่วม ๑ คน ผู้อำนวยการโรงเรียนคือ นายสุนทร คำเสียง

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ คิดเลขได้ตามระดับช่วงชั้น ส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น

คำขวัญ

"เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม"

พันธกิจ

พันธกิจ
๑.พัฒนาผู้เรียนให้อ่าน คิด วิเคราะห์ และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่หลากหลาย โดยเน้นตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
๒.จัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรม จริยธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
๓.ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาการเรียนการสอน ด้วยวิธีการที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง
๔.ประสานความร่วมมือกับชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๕.ผู้เรียนได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันในการจัดการศึกษา
๖.พัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งอารยธรรม วัฒนธรรม

เป้าหมาย

เป้าหมายของโรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย คือจัดการศึกษาให้กับนักเรียนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ดดยให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข โรงเรียนจึงตั้งเป้าหมายไว้ ๖ ด้านดังนี้


ด้านบริหารจัดการ
๑.ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
๒.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๓.มีการวางแผน กำกับ ตรวจสอบ การปฏิบัติงานของบุคลากร
๔.มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานเพื่อความเหมาะสม


ด้านนักเรียน
๑.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ร้อยละ ๗๐
๒.นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีวินัยในตนเอง ร้อยละ ๘๐
๓.นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข ร้อยละ ๗๐
๔.นักเรียนมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ร้อยละ ๘๐
๕.นักเรียนมีความสำนึกและอนุรักษ์ในภาษาไทย ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย กีฬาและรักษาสิ่งแวดล้อมร้อยละ ๘๐
๖.นักเรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับระดับชั้นและมีความสามารถในการแข็งขัน มีผลเป็นที่น่าสนใจ



ด้านหลักสูตร
๑.มีหลักสูตรที่สนองความต้องการของท้องถิ่น โดยเน้นให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมไทยและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
๒.มีหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการ อย่างน้อยปีละ ๒ เรื่อง
๓.มีหลักสูตรการเรียนรู้แบบโครงงาน อย่างน้อยปีละ ๒ เรื่อง


ด้านบุคลากร
๑.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทุกคนจัดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิค วิธีการ และรูปแบบที่หลากหลาย
๒.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทุกคนพัฒนาตนเอง พัฒนางานเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ
๓.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทุกคนมีการวัดผล ประเมินผลจากสภาพจริง
๔.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทุกคนใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด
๕.ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีการรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ
๖.ส่งเสริมบุคลากรเข้าประกวดครูดีเด่นตามกลุ่มสาระและได้รางวัลในระดับที่น่าพอใจ


ด้านอาคารสถานที่
๑.มีการปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อม ทั้งในและนอกห้องเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน
๒.มีการประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมของโรงเรียน โดยการส่งข่าวประกาศทางวิทยุกระจายเสียง ทางหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ทางจดหมายถึงผู้ปกครอง และการจัดป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
๓.มีการปรับปรุงถนนในโรงเรียน
๔.มีการทำที่กันดินเพื่อไม่ให้สนามทรุด
๕.มีการจัดสร้างลานกีฬาในโรงเรียน
๖.มีการจัดหาที่รองรับขยะอย่างพอเพียง
๗.ปรับปรุงทาสีรั้วโรงเรียนและซ่อมแซมกำแพง
ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
๑.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในการร่วมกันจัดการศึกษา
๒.มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาต่อชุมชน
๓.มีการรายงานผลการจัดการศึกษาสู่สาธารณะชนพร้อมกับปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้น ป.๖
๔.ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาศึกษา
๕.จัดทำเครือข่ายผู้ปกครองประจำชั้นเรียน เพื่อร่วมกันพัฒนานักเรียนและโรงเรียน

อักษรย่อ

น.ค.อ.

ปรัชญา

นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)