ประวัติ

จากอดีตสู่....ปัจจุบัน ได้ปรากฎคำว่า “แผนกช่างเขียนแบบเครื่องกล” ขึ้นในครั้งแรก ในระบบการจัดการเรียนการสอน ของวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2547 แผนกช่างเขียนแบบเครื่องกลโดยคณะครู-อาจารย์ ได้แสดงความมุ่งมั่น ที่จะปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยยึดหลัก “ การศึกษา สร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ” โดยผลิตนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ส่งผลให้ แผนกช่างเขียนแบบเครื่องกล ได้จัดการเรียนการสอนมาเป็น คอมพิวเตอร์ออกแบบและคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรมหรือ (CAD & CAM) มาถึงปัจจุบัน

ด้านการเรียนการสอน แผนกฯ มุ้งเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยยึดผู้เรียน และสถานประกอบการเป็นศูนย์กลาง เรียนอย่างมีความสุข คิดเป็น ทำเป็น โดยจัดการเรียนการสอนทางด้าน คอมพิวเตอร์ออกแบบและคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรมหรือ (CAD & CAM) ซึ่งเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการในปัจจุบันเป็นอย่างมาก สนับสนุนให้นักศึกษากล้าแสดงออกถึงความสามารถ และพัฒนาฝีมือ โดยจะเห็นจากผลงานของนักศึกษา ที่ได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ

ด้านสถานประกอบการ แผนกจัดให้สถานประกอบการเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำร่วมระดมสมอง ในการจัดการเรียนการสอนในแผนก ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาออกไป ประกอบอาชีพ และหารายได้ระหว่างเรียน

ด้านการติดตามพฤติกรรมผู้เรียน เป็นสิ่งที่แผนกไม่เคยละเลย ครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการดูแล นักเรียน นักศึกษาอย่างใกล้ชิด ให้ความรัก และความห่วงใย โดยแผนกจัดให้มีชมรมเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันระดมความคิด เพื่อเฝ้าระวังบุตรหลาน โดยมีการจัดประชุมผู้ปกครองเครือข่ายประจำปีการศึกษาละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งมีการจัดทัศนะศึกษาประจำปี สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ครู-อาจารย์ นักศึกษา และผู้ปกครอง ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง และมีห้องชมรมเครือข่าย ผู้ปกครองประจำที่แผนก โดยผู้ปกครองมานั่งดูการเรียนของบุตรหลานของท่าน จนได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การดำเนินการการเรียนการสอนของแผนกช่างเขียนแบบเครื่องกล จะประสบความสำเร็จแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคณะครูอาจารย์ในแผนกเท่านั้น หากแต่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ และสร้างจิตสำนึกร่วมกันว่า “อนาคตและพลังอำนาจขึ้นอยู่กับคน การศึกษาพัฒนาคน และคนพัฒนาชาติ” ซึ่งเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชน ครอบครัว และประเทศชาติสืบต่อไป

พันธกิจ

เปิดสอนนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน