ประวัติ

โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว เปิดดำเนินการสอน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2481 เริ่มแรกใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลหนองบัวบาน3(วัดหนองบัวระเหว) โดยใช้ศาลาวัดหนองบัวระเหว เป็นสถานที่เรียน มีครู 2 คน นักเรียน 46 คน
ต่อมาในปี พ.ศ.2507 คณะครูและชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป 1 ซ ขนาด 4 ห้องเรียน โดยยกโครงหลังคามุงสังกะสี ติดคาน ตรง ไว้ในที่ดินแปลงปัจจุบัน ซึ่งได้จับจองไว้บนเนื้อที่ประมาณ 57 ไร่ ในปี 2508 ได้รับงบประมาณจากทางราชการมาสร้างต่อจนเสร็จเมื่อ
วันที่ 27 ธันวาคม 2508
วันที่ 7 มกราคม 2509 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดหนองบัวระเหว มาเรียนที่อาคารหลังใหม่ โดยเปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา
ปีการศึกษา 2513 ได้รับอนุมัติให้เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2528 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับชั้น เด็กเล็ก
ปีการศึกษา 2529 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นอนุบาลปีที่ 1
ปีการศึกษา 2541 ได้เปิดดำเนินการสอนชั้นก่อนประถมศึกษา อนุบาล 1 - 2
ปีการศึกษา 2541 เป็นโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาเขต ของสปอ.หนองบัวระเหว
ปีการศึกษา 2541 ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของสปจ.ชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2542 เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ป.6
ปีการศึกษา 2544 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544
ปีการศึกษา 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
ปีการศึกษา 2546 เปิดเป็นโรงเรียนมัธยมขยายโอกาสทางการศึกษา(ม.1)
ปีการศึกษา 2547 เปิดขยายชั้นเรียนมัธยม (ม.1)และ(ม.2)
ปีการศึกษา 2549 เปิดขยายชั้นเรียน (ม.2) และ (ม.3)
และขออนุญาตยกเลิกการขยายชั้นเรียนเมื่อสิ้นปีการศึกษา
ปีการศึกษา 2549 เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ปีการศึกษา 2550 เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2551 เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วิสัยทัศน์

สถานที่น่าเรียนรู้
ครูมีคุณภาพ
นักเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ร่วมประสานชุมชน
มากล้นคุณธรรม
ก้าวล้ำเทคโนโลยี

คำขวัญ

ตรงเวลา รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่วิชา

พันธกิจ

พันธกิจ (MISSION)
1. การกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทยให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้
มาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อลด
ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทาง
2. การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานโดยการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับ
ความต้องการของท้องถิ่น จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนบนพื้นฐานความ
เป็นไทยและความเป็นประชาธิปไตย เป็นต้นแบบและพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนอื่น
3. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีจำนวนเพียงพอ เป็นระบบเครือข่ายและเอื้อต่อการเรียนรู้
ร่วมกัน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลเพื่อให้ทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในอนาคต
4. การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถก้าวเข้าสู่เวทีการ
แข่งขันได้ในระดับสากล
5. การบริหารจัดการทั้งระบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ครูและบุคลากรมืออาชีพอย่างเพียงพอ มีอิสระในการ
ทำงานอย่างคล่องตัว มีการพัฒนาด้านกายภาพอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนใน ท้องถิ่น
ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและเป็นโรงเรียนสาธิตประจำอำเภอ
7. การวัดประเมินผล เน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาตนเองภายในโรงเรียนและการรับรองคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษาชาติโดยการประเมินจากองค์กรทั้งภายในและภายนอก
8. พัฒนาบุคลากร ดำเนินการพัฒนาให้เป็นบุคลากรมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความสามารถในการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เป็นไปตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และมีความรู้ในเรื่อง ICT เป็นอย่างดี การปรับเปลี่ยน
กระบวนทัศน์พัฒนาศักยภาพ การเป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนที่เข้มแข็ง การประเมินผล ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
9. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ที่หลากหลายมุ่งสู่ความ
เป็นเลิศตามศักยภาพผู้เรียน การนำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ การใช้ e-Learning สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในการสืบค้นข้อมูล การแข่งขัน (benchmarking)
และการวัดประเมินผล มีกระบวนการจัดทำหลักสูตรและบริหารหลักสูตรโดยอาศัยความร่วมมือและ
สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น
10. การจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) ประกอบด้วย การจัดทำระบบการทดสอบ
ระบบ e-Learning,ระบบ e-Book ระบบบริการเนื้อหา ระบบ digital / e-Library และระบบ Management
Report ระบบเครือข่ายเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูง
11. โครงสร้างและการบริหารโรงเรียน ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการแบบ School-based Management
และการพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
มีการระดมทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนในท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนระบบการ
ดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวเพื่อเตรียมเป็นองค์กรแบบนิติบุคคล

เป้าหมาย

นักเรียนในความรับผิดชอบได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

อักษรย่อ

ชรว.