ประวัติ

โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ ตั้งเมื่อ วันที่ 11 ตุลาคม 2519 ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเริ่มก่อตั้งสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งแรกอยู่อาคารชั่วคราว โครงไม้ หลังคามุงหญ้า มีครู 4 คน นักเรียนจากชั้น ป. 1 – 4
จำนวน 110 คน โดยมีนายเสรี ตรีภพ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีคณะครูในขณะนั้นได้แก่ นายไสว อุปปะ,นางระนารถ คามวัลย์ และนางสุขสะอาด ธนาสัย
โรงเรียนได้ปรับปรุงทุกด้านตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นต้นมาจนเป็นที่ยอมรับจากสังคม และโรงเรียนได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติบัตร โล่รางวัลดีเด่นดังต่อไปนี้
ปี พ.ศ. 2526 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรของ สปช.
ปีการศึกษา 2527 ได้รับประเมินและคัดเลือกจากคณะกรรมการให้เป็นโรงเรียนดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2531ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนจัดกิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนดีเด่น ระดับ 1 ของอำเภอและอันดับที่ 2 ของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกจากกรมวิชาการให้เป็นโรงเรียนแกนนำ แนะแนวการศึกษาและอาชีพ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปี พ.ศ. 2533 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการการประเมินให้เป็นโรงเรียนจัดกิจกรรมห้องสมุดดีเด่น ของอำเภอ 4 ปีซ้อนและชนะเลิศระดับจังหวัด

นอกจากนี้โรงเรียนได้ปรับปรุงและพัฒนาในหลาย ๆ เรื่อง และทุกด้าน จนได้รับเกียรติบัตร และโล่ดีเด่นมากมายทั้งครู นักเรียน ผู้บริหาร จนได้รับคัดเลือกและประเมินจากคณะกรรมการให้เป็น “โรงเรียนแกนนำต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้” ระดับอำเภอ

1 พ.ค. 2542 นายภูมินทร์ เนินสะท้าน ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านวังใหญ่มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้ โดยย้ายสับเปลี่ยนกับนางเบญจพิศ ขัติยนนท์

18 มิถุนายน 2542 นายสมศักดิ์ วโรรส ย้ายมาจากโรงเรียนศรีสวัสดิ์มาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้

8 มีนาคม พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้ขอเปลี่ยนชื่อ ซึ่งทางราชการได้อนุมัติให้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม
เป็น “ โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ ”

10 พ.ค. 2544 นางนงค์ลักษณ์ หารภูมิ ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านหนองไฮภูเขาทอง มาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้

30 มิถุนายน 2544 นายบุญถม บุญอำนวย ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านเหล่าขุมมันท่าสะอาด มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้

15 สิงหาคม 2544 นายละมุด กุลกิจ ย้ายมาจากโรงเรียนศรีสวัสดิ์มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้ โดยย้ายสับเปลี่ยนกับนางฉวีวรรณ เข็มทอง
โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างสนามบาสเก็ตบอล จำนวน 1 แห่ง
โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง

1 ส.ค. 2545 นางนภาพรรณ บุปผาชาติ ย้ายมาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยา มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้ โดยย้ายสับเปลี่ยนกับนายวีระ บุคลิก

โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง ข้างอาคารห้า

1 ตุลาคม 2546 นางวิบูลย์ ตรีภพ และนายเสรี ตรีภพ เกษียณอายุราชการ

ทางราชการได้แต่งตั้ง นายอัมพร สุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปลาโด อำเภอหนองพอก ย้ายมารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2546

ปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และอยู่เขตพัฒนาคุณภาพการศึกษา 7 ชัยมงคล

21 เมษายน 2547 นายอัมพร สุวรรณ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์

21 ตุลาคม 2547 นางเบญจพิศ ขัติยนนท์ ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านวังใหญ่ มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้ โดยย้ายสับเปลี่ยนกับนางอรชร โป๊ะประนม

ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับงบประมาณบริจาคจากผู้ปกครอง จำนวน 25,000 บาท สร้างรั้วล้อมบ่อเลี้ยงปลา

ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับเงินบริจาคจากชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลหนองพอก ปรับปรุงถนนหน้าหอประชุม

ปี พ.ศ. 2548 เดือนเมษายน โรงเรียนจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการศึกษา ได้รับเงินบริจาค ประมาณ 300,000 บาท พร้อมคอมพิวเตอร์ 31 เครื่อง

ปี พ.ศ. 2549 มีบุคลากรย้ายมาดำรงตำแหน่งดังนี้
- นางพรรณทิพา ต้นสวรรค์ ย้ายมาจากโรงเรียนเหล่าขุมมันท่าสะอาด มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้
- นายชวลิต อุปปะ ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านหนองคำ มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้
- นายโสดา ศักดิ์ศรี ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านกกตาลดงบังวิทยา มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้

15 มกราคม 2550 นางอารมณ์ นาก้อนทอง ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านห้วยจระเข้ อ.ด่านขุนทด สพท.นม.5 มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้ โดยย้ายสับเปลี่ยนกับนางเบญจพิศ ขัติยนนท์

1 กุมภาพันธ์ 2552 นายศราวุธ คามวัลย์ ย้ายมาจากโรงเรียนชุมชนนาทมโคกก่อง อ.เสลภูมิ สพท.ร้อยเอ็ด เขต 3 มาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้

1 มีนาคม 2552 นายปรีชา หารภูมิ จากโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 11 นายชำนาญ ระดารุต จากโรงเรียนบ้านหนองคำ ย้ายมาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้

ขนาดและที่ตั้งโรงเรียน
โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประมาณ 26 กิโลเมตร
ห่างจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประมาณ 600 กิโลเมตร

ทิศเหนือ จดสำนักงานเกษตรอำเภอหนองพอก
ทิศใต้ จดหมู่ที่ 8 ตำบลหนองพอก
ทิศตะวันออก จดโรงเรียนหนองพอกวิทยา
ทิศตะวันตก จดทุ่งนา

อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งปลูกสร้าง
โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างรวมทั้งสถานที่
ที่มีผู้บริจาค ดังนี้
พ.ศ. 2520 อาคารเรียน แบบ รอ.01/6 (1 หลัง)
พ.ศ. 2521 อาคารเรียน แบบ รอ.01/5 (1 หลัง)
พ.ศ. 2521 บ้านพักครู แบบ กรมสามัญ (1 หลัง)
พ.ศ. 2521 ส้วม แบบกรมสามัญ (1 หลัง)
พ.ศ. 2522 อาคารอเนกประสงค์ แบบสามัญ/312 (1 หลัง)
พ.ศ. 2525 อาคารเรียนแบบ ป.1 ก พิเศษ (1 หลัง)
พ.ศ. 2526 บ้านพักครู แบบ สปช. 301/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2528 บ้านพักครูแบบ สปช. 301/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2528 ส้วม สปช. 601/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2529 อาคารเรียน แบบ สปช. 105/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2529 อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 203/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2531 อาคารเรียน สปช. แบบ105/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2531 ส้วม สปช. 601/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2532 โรงพลศึกษา แบบ สปช. (1 หลัง)
พ.ศ. 2543 ส้วม สปช. 601/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2544 ส้วม สปช. 601/26 (1 หลัง)
พ.ศ. 2544 สนามวอลเลย์บอล (1 สนาม)

วิสัยทัศน์

"ภายในปีการศึกษา 2553 โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) คุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ และมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข"

คำขวัญ

"เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม"

พันธกิจ

โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ มีความตระหนักและมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามภารกิจ
ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยมุ่งเน้นกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
2. จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา
3. จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
4. จัดบริการส่งเสริมสุขภาพอนามัย

เป้าหมาย

1. นักเรียนเป็นคนดี มีระเบียบวินัยสูง
2. นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
3. นักเรียนรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
4. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง
5. นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

อักษรย่อ

น.พ.พ.

ปรัชญา

"นตฺถิปญฺญา สมาอาภา"
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี