ประวัติ

เดิมที่โรงเรียนแห่งนี้มีชื่อว่า”โรงเรียนวัดตะเคียนเตี้ย”เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2473 โดยรับเด็กเข้าเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2500 จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นสถานที่คับแคบจึงย้ายโรงเรียนมาอยู่สถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น”โรงเรียนบ้านตะเคียนเตี้ย”
ปี พ.ศ. 2500 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ จำนวนเงิน 40,000 บาท และราษฎรสมทบอีกรวมเป็นเงิน 12,250 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป 1ข กว้าง 6 เมตร ยาว 27 เมตร โดยสร้างในที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ในปัจจุบัน
เปิดทำการสอนในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2500
ปี พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนเงิน 120,000 บาท สร้างอาคารเรียนเรียนแบบ ป 1 ข 1 หลังจำนวน 4 ห้อง
ปี พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จำนวน 50,000 บาท สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2522 ได้รับงบพิเศษจากกรมการปกครอง จำนวนเงิน
1,400,000 บาท สร้างอาคารเรียนตามแบบกรมสามัญศึกษาเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น 10 ห้องเรียน โดยรื้ออาคารหลังเดิมออกและสร้างทับที่เดิม และขายไม้อาคารเดิมนำเงินมาสร้างโรงเรือนขนาด กว้าง x ยาว 17.50 เมตร
หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงอาคารมาเรื่อยๆ และเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ทำให้โรงเรียนประถมศึกษาเดิมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ย้ายมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

วิสัยทัศน์

นักเรียนโรงเรียนบ้านตะเคียนเตี้ย มีคุณภาพ และทักษะในด้านความรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีคุณธรรม และจริยธรรมที่ดี นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยใช้นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลาย สามารถดำรง
ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

คำขวัญ

ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

พันธกิจ

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านตะเคียนเตี้ยมี

ภารกิจที่แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษา เพื่อบรรลุ

วิสัยทัศน์ และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.พัฒนาคุณภาพ และทักษะในด้านความรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2.พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3.ส่งเสริมให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4.ส่งเสริมให้มีการใช้นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีที่หลากหลายในการเรียนการสอน
5.ส่งเสริมให้มีกิจกรรมพัฒนาสุขภาพ อนามัย และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
6.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารตัดการศึกษา

อักษรย่อ

ม.ต.ค.

ปรัชญา

ประพฤติดีนำหน้า วิชาการเคียงคู่ สู่คุณธรรม