ประวัติ

ประวัติและความเป็นของศูนย์(ตาดีกา)กำปงปานแย

ศูนย์แห่งนี้ได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 โดยมีนายอับดุลรอแมเป็นผู้สอนคนแรก(ปัจจุบันเป็นอิหม่ามมัสยิดบ้านดูวา)แต่เดิมศูนย์แห่งนี้ได้รู้จักในนามโรงเรียนสอนภาษามลายูต่อมาได้มีผู้อาสารับสานต่อเพื่อที่จะไม่ให้เด็กๆในหมู่บ้านตกอยู่ในสภาพคนตาบอด.
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ศูนย์แห่งนี้มีความจำเป็นต้องปิดการสอนชั่วคราวเนื่องจากไม่มีผู้สอนจึงทำให้เด็กๆในสมัยนั้นตกอยู่ในภาวะขาดความรู้.
มองเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายชาวบ้านจึงร่วมปรึกษาหารือถึงวิธีการจัดหาครูผู้สอนและสถานที่ที่เหมาะสมซึ่งเป็นที่ใหนไม่ใด้นอกจากใกล้กับมัสยิด(ซึ่งในตอนนั้นยังคงเป็นมัสยิดที่สร้างด้วยไม้).
ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแรงร่วมใจสร้างสถานที่ที่เรียกกันว่าโรงเรียนตาดีกาแต่ไม่นานนักโรงเรียนแห่งนี้มีความจุที่ไม่เพียงพอกับผู้เรียนจึงมีความจำเป็นต้องขยายสถานที่ซึ่งมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2538 (เป็นอาคารชั้นเดี่ยว)และได้เปลียนชื่อจากโรงเรียนตาดีกาเป็นศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด.
ในปี พ.ศ. 2548ได้เปลียนชื่อจากศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิดเป็นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)กำปงปานแยและต่อมาได้รับงบสนับสนุนจากรัฐและได้ต่อเติมเป็นอาคารสองชั้นและในปี2551ศูนย์แห่งนี้ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคู่ขนานกับโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีต่อมาได้ย้ายอยู่ในความดูแลของโรงเรียนบ้านเจาะบาแน( ผอ. ปรีชา นาชะรัด )ในปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน...
โดยมีนาย อาลี สาหะ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)กำปงปานแย อำเภอ มายอ จังหวัด ปัตตานี

วิสัยทัศน์

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)กำปงปานแย มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสูข ภายใต้กรอบของหลักการศาสนาอิสลาม.

คำขวัญ

สร้างโรงเรียนให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่ชุมชน

พันธกิจ

1. จัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2548
2. ปลูกฝังให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมตามหลักหลักการศาสนาอิสลาม.
3. ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติหลักการศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนไปปฏิบัติและเผยแพร่สู่สังคม.
5. สนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1.ประชากรในวัยวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ผู้เรียนมีสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา
4. ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ผู้เรียนทุกคนมีคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
6. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อักษรย่อ

ตปย

ปรัชญา

ใฝ่เรียนรู้ มุ่งปฏิบัติ เน้นจริยธรรม