ประวัติ

โรงเรียนบ้านซากอ ตั้งขึ้นและเปิดสอนครั้งแรกวันที่ 14 สิงหาคม 2501 ใช้ใต้ถุนบ้านของนายตูแวโซ๊ะ ดือมุงกะปะ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบีโล๊ะ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว มีนายเฉลิม รักษาราษฎร์ เป็นครูคนแรกและอยู่ในความอุปการะของนายต่วนรอนิง ดือมุงกะปะ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน
เดือนธันวาคม 2501 ราษฎรได้พร้อมใจกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น 1 หลัง ในที่ดินของนายต่วนรอนิง ดือมุงกะปะ ตั้งอยู่ตอนใต้ของหมู่บ้านบีโล๊ะ และได้ย้ายนักเรียนไปเรียนในอาคารดังกล่าว
ปี พ.ศ. 2507 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่หน้าหมู่บ้านคอลอกาเว หมู่ที่ 1 ตำบลซากอ ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ที่บ้านซากอ หมู่ที่ 1 ตำบลซากอ คือที่โรงเรียนในปัจจุบัน และได้ย้ายนักเรียนจากหมู่บ้านบีโล๊ะมาเรียนที่ใหม่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2507 โดยมีพันโทถนอม ไวถนอมสัตย์ ซึ่งเป็นหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ได้เป็นประธานทำพิธีเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ดิน ซึ่งราษฎรยกให้ มีเนื้อที่ 27 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา และนายเฉลิม รักษาราษฎร์ ได้ย้ายไปอยู่โรงเรียนบ้านกลูบี นายเจริญ แท่นแก้วได้ย้ายมาทำการสอนแทน
เดือนตุลาคม 2507 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน 45,000 บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก ขนาด 2 ห้องเรียน 1 หลัง และเขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดยะลา ได้คัดเลือกโรงเรียนบ้านซากอ เข้าโครงการปรับปรุงทดลองการสอนภาษาไทยแก่นักเรียนเริ่มเรียนหรือชั้นเด็กเล็ก พร้อมทั้งได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนชั้นเด็กเล็กให้ 1 หลัง 1 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2514 เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ โจรผู้ร้ายคุกคาม มีครู 1 คนไม่กล้ามาสอน โรงเรียนจึงได้ปิดเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ทางจังหวัดนราธิวาสได้บรรจุครูใหม่มาจำนวน 2 คน คือ นายสายัณท์ ทองขำ และนายสนิท ปุ๋ยพรหม การเรียนการสอนจึงได้เปิดเรียนตามปกติ
ปี พ.ศ. 2517 ได้จัดตั้งกิ่งอำเภอศรีสาคร ซึ่งแยกมาจากอำเภอรือเสาะ มีเขตปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลซากอ และตำบลตะมะยูง
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ทางอำเภอศรีสาคร ได้มีคำสั่งให้นายอุโรจน์ ศรีสุวรรณ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนบ้านซากอ
ปี พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป. 1 ก ขนาด 4 ห้องเรียนและกรมสามัญศึกษาได้งบประมาณมาจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยได้ทำการยืมอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านซากอจำนวน 2 ห้องเรียน เป็นที่ทำการสอนชั่วคราว
ปี พ.ศ. 2521 ทางโรงเรียนได้ทำการเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และทางจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก ขนาด 4 ห้องเรียน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2528 มีจำนวนนักเรียน321 คน ทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูทำการสอน 15 คน นักการภารโรง 1 คน
ปี พ.ศ. 2529 นายอุโรจน์ ศรีสุวรรณ อาจารย์ใหญ่ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านคอลอกาเว และนายเจริญ แท่นแก้ว ได้มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านซากอ
วันที่ 27 ตุลาคม 2531 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งแต่งตั้ง
นายประเวศ ฟุ้งเฟื่อง มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านซากอ
ปี พ.ศ. 2534 โรงเรียนบ้านซากอได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของอำเภอศรีสาคร มีนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 คน
วันที่ 30 กันยายน 2541 นายเจริญ แท่นแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซอกอ เกษียณอายุราชการ นายประเวศ ฟุ้งเฟื่อง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซากอ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
วันที่ 18 มกราคม 2542 นายอุโรจน์ ศรีสุวรรณ ได้รับคำสั่งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซากอ
วันที่ 30 กันยายน 2542 นายอุโรจน์ ศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
นายประเวศ ฟุ้งเฟื่อง ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซากอ
วันที่ 22 มกราคม 2544 นายนภดล ภัทราธิกุล ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซากอ
วันที่ 15 มกราคม 2545 นายกมล บุญธรรม ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซากอ ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส ที่ 10/2546 ลงวันที่ 15 มกราคม 2546 ได้มารับงานและปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 24 มกราคม 2546
วันที่ 5 กรกฎาคม 2548 นายประเวศ ฟุ้งเฟื่อง รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซากอ ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านซือเลาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 ที่ 248/2548 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2548 โดยเดินทางไปรับงานและปฏิบัติหน้าที่วันที่ 5 กรกฎาคม 2548
วันที่ 10 ตุลาคม 2548 นายกมล บุญธรรม ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านซากอ ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑ ที่ 479/2548 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2548
วันที่ 11 ตุลาคม 2548 นายพีรศักดิ์ รัตนะ เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการแต่งตั้งให้มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านซากอ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 1 ที่ 411/2548 ลงวันที่ ตุลาคม 2548 และได้มารับงานปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 11 ตุลาคม 2548
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 นายสมเกียรติ เสาวคนธ์ ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านซากอ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 1 ที่ 482/2549 ลงวันที่ 1พฤศจิกายน 2549 และได้มารับงานปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 นายมะ ดาราแม ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านซากอ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 1 ที่ 43/2550 ลงวันที่ 1พฤศจิกายน 2549 และได้มารับงานปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
วันที่ 8 ตุลาคม 2550 นายอดินันท์ ศรีสุพรรณพงศ์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านซากอ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านซากอ มีอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 2 หลัง อาคารแบบ105/29 จำนวน 2 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง และอาคาร 106 กรมสามัญ 1 หลัง ส้วม 4 หลัง 14 ที่นั่ง บ้านพักครู 5 หลัง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีข้าราชการ 15 คน โดยไปช่วยราชการสถานศึกษาอื่นจำนวน 5 คน พนักงานราชการจำนวน 15 คน ครูอัตราจ้างรายเดือน(ครูโมบาย) 1 คน ครูอัตราจ้างรายเดือน(วิทยากร 2 ระบบ) 2 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน 1 คน และมีนักเรียน จำนวน 589 คน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนชุมชนบ้านซากอ นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานครูเป็นมืออาชีพ โรงเรียนมีการบริหารแบบประชาธิปไตย โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

คำขวัญ

มีประชาธิปไตย ใฝ่การเรียน เพียรทำดี มีคุณธรรม

พันธกิจ

1. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2. พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นครูมืออาชีพ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบุคลากรและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2. พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นครูมืออาชีพ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบุคลากรและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

อักษรย่อ

ซ.ก.

เพลง

สี่แดง

ปรัชญา

มีประชาธิปไตย ใฝ่การเรียน เพียรทำดี มีคุณธรรม