ประวัติ
ประวัติ -โรงเรียนวัดพะยอม ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยขุนกรรณเนตรศึกษากร ธรรมการ
อำเภอวังน้อยได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาล มีพระอธิการจำรัสสุวณโณ เจ้าอาวาสวัดพะยอมเป็นผู้อุปการะ ครั้งแรกใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานที่เรียน และได้จัดหาอุปกรณ์การศึกษา เช่น โต๊ะครู เก้าอี้ กระดานดำให้ คณะครู ผู้ปกครองได้ร่วมกันบำรุงสถานที่ร่วมกับทางราชการด้วยดีเสมอมา นับว่าเป็นการช่วยเหลือการศึกษาให้กับกุลบุตร กุลธิดา ในท้องที่ ตำบลพยอม อำเภอวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และท้องที่ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นอย่างดี จำนวนนักเรียนได้เพิ่มขึ้นทุกปี ทางราชการได้เพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอ จนเปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีนักเรียนที่จบออกไปประกอบอาชีพ และศึกษาต่อทุกปี
พ.ศ. ๒๔๗๙ ศาลาการเปรียญทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงได้จัดสร้างขึ้นใหม่ ขนาดกว้าง ๗ วา ยาว ๑๓วา โรงเรียนจึงได้ใช้ศาลาการเปรียญหลังใหม่ เป็นอาคารเรียน
พ.ศ. ๒๔๘๔ เจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ได้ปลูกสร้างเป็นอาคารขึ้นใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนเป็นอาคารเอกเทศในที่ดินของเอกชน โดยการบอกบุญเรี่ยไรจากผู้มีจิตศรัทธา เป็นอาคารทรงปั้นหยา มุกกลางในตัว เสาไม้เต็ง ประตู หน้าต่างไม้สัก ฝาและเครื่องบนเป็นไม้ยาง ขนาดยาว ๙ วา กว้าง ๔ วา ๖ ห้องเรียน เงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑,๑๐๐ บาทได้งบประมาณจากทางราชการ ๗๐๐ บาทเปิดสอนเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๘๔
พ.ศ. ๒๔๙๐ หลังคาอาคารชำรุด คณะกรรมการศึกษาร่วมกันซ่อมแซม เป็นเงิน ๖๓๙ บาท
พ.ศ. ๒๔๙๕ เปลี่ยนหลังคาอาคารเป็นสังกะสี สิ้นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๔๙๙ เจ้าอาวาสและคณะกรรมการได้บอกบุญสร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาเรียนของนักเรียน สิ้นค่าก่อสร้าง ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๑ หลังคาอาคารถูกพายุพัดพังเสียหาย เปลี่ยนสังกะสีเป็นเงิน ๗๘๕ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๖ อาคารเรียนชำรุดทรุดโทรมมาก สำนักงานสลากกินแบ่งได้สงเคราะห์ ปลูกสร้างอาคารเรียนให้ใหม่ ในที่ดินของนายสุเวทย์ สาระบูรณ์ ครูใหญ่ในขณะนั้น ได้บริจาคให้ เป็นอาคารแบบ ป.๑ ข ขนาด ๓ ห้องเรียน กว้าง ๘.๕ เมตร ยาว ๒๗ เมตร เป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐ บาท เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยนายพยุง อิ่มสุวรรณ นายอำเภอวังน้อยเป็นประธาน
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้งบประมาณพัฒนาท้องถิ่นขยายอาคารเรียนอีก ๑ ห้องเรียน กว้าง ๘.๕ เมตร
ยาว ๙ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๔๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้งบประมาณพัฒนาท้องถิ่นสร้างเรียนเพาะชำ ๑ หลัง เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้งบประมาณสร้างส้วม ขนาด ๒ ที่นั่ง เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๑ อาคารเรียนประสบอัคคีภัย เสียหายทั้งหมดและได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเรียนใหม่ แบบ สปช. ๑๐๕/๒๕๒๙ เป็นเงิน ๘๔๙,๐๐๐ บาท เปิดเรียนเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยนายสมพงษ์ ม่วงปรางนา หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอวังน้อย เป็นประธาน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้สร้างอาคารเรียนใหม่ ชื่อ อาคารธมมทตโต (ดร.อาทิตย์-คุณบุญนำ อุไรรัตน์ อุปถัมภ์) เป็นอาคาร ๓ ชั้น ขนาด ๑๕ ห้องเรียน ๑๒ ห้องน้ำ โดย การสนับสนุนงบประมาณการสร้าง คิดเป็นเงินประมาณ ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท จากท่านพระครูวิสิฐพัฒนพิธาน เจ้าอาวาสวัดพยอมและเจ้าคณะตำบลวังน้อย ท่าน ดร.อาทิตย์-คุณหญิงบุญนำ อุไรรัตน์ คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง คณะครูทุกคน และนายปรีชา กองจินดา ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ เปิดใช้ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๘
ผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น ๙ คน
ผู้บริหารโรงเรียนคนปัจจุบัน คือ นางเบญจพร เสมา ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง ปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรียนวัดพะยอมจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สุขภาพดี มีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็น อยุธยา มีทักษะชีวิตที่สร้างสรรค์ มีทักษะทางคอมพิวเตอร์ และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแสวงหาความรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
คำขวัญ
สามัคคีมีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาวิชาการ สืบสานประเพณี เทคโนโลยีทันสมัย ใส่ใจสุขภาพ
พันธกิจ
๑ โรงเรียนจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๒ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สุขภาพดี มีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะทักษะชีวิตที่สร้างสรรค์และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแสวงหาความรู้
๓ ส่งเสริมนักเรียนให้รักความเป็นไทย ภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็น อยุธยา
๔ พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕ พัฒนาระบบการบริหารจัดการทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ
๖ ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เป้าหมาย
๑ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๒ นักเรียนให้รักความเป็นไทย ภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็น อยุธยา
๓ สถานศึกษาให้บริการทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
๔ ครูมีศักยภาพ สมรรถภาพและเพียงพอต่อการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕ สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๖ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อักษรย่อ
พ.ย. สีประจำโรงเรียน ม่วง - ขาว
เพลง
กลยุทธ์ :
๑. ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นคนดี เก่ง มีสุข ตระหนักในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักและภาคภูมิใจในความเป็นอยุธยาให้แก่นักเรียน
๒. สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัยอย่างทั่วถึง
๓. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา
๔. เร่งรัดพัฒนาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และ การบริหารจัดการ
๕. เสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
ปรัชญา
สิกฺขกาโม ภวํ โหติ : ผู้ใคร่ในการศึกษา เป็นผู้เจริญ